วันจันทร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566

ตีความ บทกวี “จุดหมาย” ในกวีนิพนธ์แห่งชีวิต “ใบไม้ที่หายไป” โดย จิระนันท์ พิตรปรีชา

 


              บทกวีบทนี้ได้แสดงให้เห็นในเรื่องของความคิดสำหรับวัยล้าท้าฝันหรือก็คือ ความคิดที่อาจจะเกิดขึ้นในช่วงของวัยการเป็นนักศึกษาที่คิดอยากจะทำให้โลกนี้มีความยุติธรรมมากยิ่งขึ้น ต้องการที่จะทำให้เรื่องของชนชั้นที่เป็นอยู่นั้นได้หายไป ต้องการที่จะเปลี่ยนสิ่งต่าง ๆ ในโลกให้มีความยุติธรรมมากที่สุด ทุกสิ่งเหล่านี้ได้เกิดเป็นความคิดของคนรุ่นใหม่ที่รับไม่ได้กับโลกใบเก่าที่มีความเหลื่อมล้ำมากจนเกิน แต่การที่จะทำสิ่งเหล่านี้ให้ประสบความสำเร็จก็ไม่ใช่เรื่องที่ง่ายและดูเหมือนว่าเป็นเรื่องยากมาก ๆ อีกด้วย

              ในความคิดของผู้ที่อยากจะเปลี่ยนแปลงทุกอย่างแน่นอนว่ามันเป็นสิ่งที่ดี แต่สิ่งเหล่านี้กลับไม่ใช่ความคิดที่ดีของใครหลายคน เพราะไม่ว่าจะเรื่องของผลประโยชน์ต่าง ๆ การที่มีคนคิดที่จะดึงความยุติธรรมออกมากลับกลายเป็นว่าสังคมเกิดความรังเกลียดคนเหล่านี้ เพราะมีความคิดที่แปลกแยก ทุกสิ่งที่ตั้งใจเอาไว้เมื่อตอนที่อยู่มหาลัยจึงเหมือนเป็นการมีศักดิ์ศรีและความทะนงตนที่สูงมาก ๆ แต่เมื่อได้เข้าสู่โลกแห่งความจริงสิ่งเหล่านี้จึงเหมือนกลายเป็นแค่ความฝันในช่วงวัยนั้น การที่จะมีคนที่กล้าที่จะเปลี่ยนสิ่งเหล่านี้และยึดมั่นจริง ๆ กลับเหลือน้อยอยู่เต็มที

              หากคนที่มีความคิดในเรื่องที่อยากจะทำการเปลี่ยนแปลงโลกบางคนอาจจะมองว่ามันเป็นเพียงแค่ความฝันอย่างหนึ่งที่เคยเกิดขึ้นและดับไป แต่จะมีสักกี่คนที่ยังยึดมั่นในสิ่งเหล่านี้และต้องการที่จะทำให้เกิดความสำเร็จได้จริง ๆ แน่นอนว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องที่ยาก แต่หากไม่ได้อยากให้เป็นเพียงแค่ฝันต้องผนึกอีกหลายกำลังที่มีความคิดไปในทางเดียวกัน ถึงแม้ไม่รู้ว่าข้างหน้าจะต้องเจอกับอะไรก็ตาม แต่หากคุณได้ยึดมั่นในสิ่งเหล่านี้การเผชิญหน้ากับมันสักตั้งก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งในการเรียนรู้ที่น่าสนใจอยู่ไม่น้อย