วันพุธที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

รีวิวหนังสือเรื่อง นิธิ เอี่ยวศรีวงศ์ อ่านการเมืองไทย ลำดับที่ 2 กัมมทายาโทของสังคมไทย



รีวิวหนังสือเรื่อง   นิธิ เอี่ยวศรีวงศ์ อ่านการเมืองไทย  ลำดับที่ 2 กัมมทายาโทของสังคมไทย

กัมมทายาโทของสังคมไทย


ชื่อเรื่อง                   นิธิ เอี่ยวศรีวงศ์ อ่านการเมืองไทย  ลำดับที่ 2 กัมมทายาโทของสังคมไทย
ผู้แต่ง                      นิธิ   เอี่ยวศรีวงศ์ 
สำนักพิมพ์             openbooks

                หนังสือเล่มนี้เป็นแนววิจารณ์เกี่ยวกับรัฐบาลของสังคมไทย  ที่ไม่ค่อยจะมีความเป็นธรรมกับประชาชนมากสักเท่าไหร่  มีทั้งการใช้อำนาจของรัฐในทางที่มิชอบเพื่อเอาเปรียบประชาชน   เห็นถึงการทำงานของรัฐที่เหมือนกับว่าจะพยายามช่วยเหลือ แต่มันก็กลับเป็นการช่วยที่แก้ปัญหาแค่ปลายเหตุเพื่อให้เรื่องมันจบ ๆ ไปเท่านั้น  การที่แก้แบบนี้มันสามารถทำให้ปัญหานั้นหายไปได้เพียงชั่วคราวเท่านั้น  แต่รัฐไม่เคยที่จะแก้ปัญหาที่ต้นเหตุของปัญหาเหล่านั้นให้ถูกต้อง  ซึ่งเราจะเห็นได้ถึงความเหลื่อมล้ำของสังคม  ที่มีการใช้อำนาจในการตีกรอบประชาชนและกดขี่ประชาชนอยู่เสมอ ๆ ไม่ว่าจะทั้งทางตรงและทางอ้อม  ทำให้ประชาขนนั้นมีสิทธิ์ที่น้อยที่สุด ทั้ง ๆ ที่ประชาชนมีสิทธิ์ที่มากที่สุดในฐานะของการปกครองแบบประชาธิปไตย   หนังสือเล่มนี้ถ้าจะมองว่าเป็นการเปิดมุมมองให้เราตะหนักในสิทธิ์ที่เราสามารถทำได้  เราจะได้เห็นกรอบบางอย่างที่บิดเบือนความเป็นจริงและเลือกเพียงบางสิ่งที่ทำให้เราต่างเชื่อและยอมรับข้อเท็จจริงเหล่านั้นได้ในที่สุด แต่เราจะไม่สามรถรู้ได้เลยว่าอะไรบ้างที่มีการบิดเบือนไป ทั้งเรื่องการศึกษา เรื่องการเมืองการปกครอง และเรื่องหลาย ๆ อย่างที่รัฐนั้นยังมีความบิดเบือนอยู่มาก  เพื่อปลูกฝังให้ประชาชนได้เป็นอย่างที่รัฐต้องการให้เป็น  นี้เป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่งในเล่มนี้  เราจะได้เห็นปัญหาอีกมากมายของสังคมได้จากหนังสือเล่มนี้ที่เป็นความคิดเห็นบางส่วนของ นิธิ   เอี่ยวศรีวงศ์  ในการมองเห็นปัญหาของสังคมไทย

วันจันทร์ที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

ตีความ ชื่อบทกวี “หาบน้ำ” ในรวมบทกวี “มือนั้นสีขาว” โดย ศักดิ์สิริ มีสมสืบ



ชื่อบทกวี “หาบน้ำ” ในรวมบทกวี “มือนั้นสีขาว” โดย ศักดิ์สิริ มีสมสืบ

ตีความ

                บทนี้ทำให้เราเห็นได้สองภาพ มีตัวละครสองตัวคือหญิงสาวคนที่หนึ่ง และคนที่สองทั้งสองทำการหาบน้ำเหมือนกัน แต่ว่าวิธีการหาบนั้นแตกต่างกัน  เราจึงเห็นภาพเปรียบเทียบได้ชัดเจน   คนที่หนึ่งนั้น หาบน้ำแบบผ่อนคลายสบาย ๆ  ไม่ฝืนและไม่ขืนตัวเอาไว้เพื่อแบกรับน้ำหนักของคาน   ปล่อยไปตามสบายค่อย ๆ ทำไม่เร่งรีบ  ปล่อยไปตามธรรมชาติรู้จักทำให้ตัวเองเป็นหนึ่งเดียวกับไม้คานได้  โดยไม่ต้องฝืนใช้แรงโดยเกินกำลัง  จึงไม่ลำบากเท่าคนท่าคนที่สองที่ใช้แรงอย่างเต็มที่เพื่อที่จะรับน้ำหนักของไม้คานได้  โดยไม่รู้จักผ่อนหนักผ่อนเบาใช้แต่แรง จึงทำให้น้ำในหาบหกและหนักเกินกว่าที่จะทนได้ 

                มันทำให้เห็นว่า คนเรานั้นถ้าเกิดว่าใช้แต่กำลัง แต่ไม่ใช้สมองในการคิดหาทางออกที่จะทำให้เราสามารถทำสิ่งนั้นให้บรรลุเป้าหมายไปได้โดยที่ไม่ต้องใช้แรงเกินกำลังของตน และไม่ฝืนตนเองมากเกินไป  การที่เรายิ่งฝืนตัวเองมากเท่าไหร่ เราก็ยิ่งแบกรับมันไม่ไหว เพราะมันจะหนักเกินกว่าที่เราจะรับได้  แต่ถ้าหากว่า เราปล่อยใจไปตามสบาย ๆ ไม่ฝืนตัวเอง ไม่ฝืนทั้งกายและใจ ทำใจยอมรับสิ่งเหล่านั้นได้  เราก็สามารถที่จะเดินไปข้างหน้า และบรรลุเป้าหมายได้โดยที่เราไม่เหนื่อยและไม่หนักมากจนเกินกำลังของเรา 

                ฉันคิดว่ามันก็เหมือนกับชีวิตของคนเรา  คนเราต่างแบกรับอะไรมามากมายในชีวิต ถ้าเราปล่อยวาง ทำตามที่มันเป็นไปด้วยความเต็มใจ ยอมรับกับปัญหาเหล่านั้นได้ และพร้อมจะประคับประคองจะเดินหน้าไปกับมัน โดยที่เราไม่ต้องฝืนตัวเองให้เหนื่อยให้ท้อหนักเกินกว่าจะรับไหว  เราก็จะสำเร็จได้เร็วเหมือนดังคนแรก   แต่ถ้าเราทำอย่างคนที่สอง  ที่พยายามใช้แรงที่มีอยู่มากจนเกินไป โดยที่ไม่คิดที่จะปล่อยวางตัวสบาย ๆ แล้วเดินไปพร้อมกับหาบ แต่เลือกที่จะฝืนแบกมันไว้ และขืนตัวไว้เพื่อให้มันเป็นไปอย่างที่เราต้องการ  แต่หารู้ไม่ว่ายิ่งเราฝืนมากเท่าไหร่ ผลที่สำเร็จนั้นก็จะช้าและหนักหนาจนอาจจะทำให้เราท้อและหมดพลังที่จะทำมันให้สำเร็จได้
               

วันเสาร์ที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

ตีความ ชื่อบทกวี “ดอกกระมัง” ในรวมบทกวี “มือนั้นสีขาว” โดย ศักดิ์สิริ มีสมสืบ



ชื่อบทกวี “ดอกกระมัง” ในรวมบทกวี “มือนั้นสีขาว” โดย ศักดิ์สิริ มีสมสืบ

ตีความ

                ฉันคิดว่ากะละมังที่มีดอกนี้น่าจะหมายถึง   คนที่อดอยาก  เพราะว่าถ้าเกิดกะละมังที่มีดอกมีดวง ก็คือกะละมังที่ผ่านการใช้มาหลายครั้งแล้ว  จนได้มีดอกมีดวงขึ้นได้  ก็เพราะผ่านการใช้มาหลายครั้งแล้ว  ซึ่งสอดคล้องกับกลอนบทสุดท้าย ที่บรรยายถึงเด็กหิวโหยเคาะกะละมังแต่กลับไม่มีคนสนใจเพราะมัวแต่ฟังเสียงกังสดาลอยู่มากกว่าที่จะมาสนใจความหิวโหยของเด็กเหล่านั้น

                ส่วนกะละมังที่ไม่มีดอกมีดวงก็คือกะละมังของคนที่มีกิน เพราะว่าถ้าดูจากการเขียนของผู้แต่งแล้ว จะเห็นว่ากะละมังไม่มีดอกดูไม่น่ากินเท่ากะละมังที่มีดอก  อาจจะตีความหมายได้ว่า กะละมังที่ไม่มีดอกนั้นเป็นของคนที่มีกิน เพราะคนเหล่านี้ไม่ค่อยกินอาหารกันให้หมด จึงทำให้อาหารในนั้นไม่ค่อยยุบ ส่วนกะละมังที่มีดอกดูน่ากินกว่าก็เพราะว่า คนที่ใช้กะละมังที่มีดอกนั้นมีความหิวโหยมากกว่า และเมื่อได้อาหารมาก็ต้องรีบกิน กินเพื่อปะทังชีวิต จึงอาจทำให้มองเห็นได้ในเชิงเปรียบเทียบของกะละมังที่จะทำให้เห็นได้ชัดว่า ความเป็นอยู่ของสองฝ่ายแตกต่างกันอย่างไร

วันจันทร์ที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

รีวิวหนังสือเรื่อง นิธิ เอี่ยวศรีวงศ์ อ่านการเมืองไทย ลำดับที่ 1 การเมืองเรื่องผีทักษิณ ของ นิธิ เอี่ยวศรีวงศ์



รีวิวหนังสือเรื่อง   นิธิ เอี่ยวศรีวงศ์ อ่านการเมืองไทย  ลำดับที่ 1 การเมืองเรื่องผีทักษิณ

การเมืองเรื่องผีทักษิณ


ชื่อเรื่อง                   นิธิ เอี่ยวศรีวงศ์ อ่านการเมืองไทย  ลำดับที่ 1 การเมืองเรื่องผีทักษิณ
ผู้แต่ง                      นิธิ   เอี่ยวศรีวงศ์ 
สำนักพิมพ์             openbooks
               

      
          หนังสือเล่มนี้ อาจารย์ นิธิ เอี่ยวศรีวงศ์ ได้วิเคราะห์และวิจารณ์ในเรื่องการเมืองในยุคของทักษิณ   ทำให้เราเห็นในหลาย ๆ อย่างของยุคสมัยนั้นว่าเกิดอะไรขึ้นบ้าง    ทำให้เห็นข้อบกพร่องทางการเมืองว่ายุคก่อนที่ทักษิณจะได้มาเป็นนายกฯ นั้น   เป็นการดูแลประชาชนอย่างไร  และทำให้เรารู้ว่าเพราะอะไรทำไมประชาชนส่วนใหญ่ถึงเลือกทักษิณ  ซึ่งสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้มันมีรายละเอียดที่เราไม่เคยรู้มาก่อนอยู่เยอะมาก 
            
      ในเล่มนี้เราจะได้เห็นการเมืองและเข้าใจมันมากขึ้นว่า ยุคนั้นมีเหตุการณ์อะไรบ้าง  เราจะได้รู้จักเหตุผลของประชาชนจริง ๆ ซึ่งไม่ใช่เป็นแค่ชนชั้นกลางที่ได้ผลประโยชน์  แต่ทักษิณได้ทำให้คนส่วนใหญ่ที่เป็นเกษตรกรได้มีผลประโยชน์เพิ่มมากขึ้น  เพราะทักษิณได้ทำให้ประชาชนที่โดนเอาเปรียบ ได้ลุกขึ้นมามีสิทธิ์มีเสียงบ้าง  ถึงแม้จะทำได้ไม่เต็มที่ แต่ว่าก็ทำให้ประชาชนที่ถูกกดขี่ได้เรียกร้องความเป็นธรรมมากขึ้น  ถ้าอยากรู้เรื่องราวต่าง ๆ เหล่านี้ อยากไขข้อคล่องใจของยุคนี้  และเราจะได้เห็นปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคมไทยมากขึ้น แต่มันกลับไม่เคยถูกพูดถึงมาก่อนเลยไม่ว่าขะสมัยไหนก็ตาม
 

วันเสาร์ที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

ตีความ ชื่อบทกวี “เป้า” ในรวมบทกวี “มือนั้นสีขาว” โดย ศักดิ์สิริ มีสมสืบ



ชื่อบทกวี “เป้า” ในรวมบทกวี “มือนั้นสีขาว” โดย ศักดิ์สิริ มีสมสืบ

ตีความ

                ภาพแรกที่เห็นคืองานวัด  เด็กเล่นเกมยิงปืนที่งานวัด  เมื่อยิงโดนเป้าเขาก็หัวเราะชอบใจที่มีเสียงร้องตอบกลับมาเมื่อยิงโดน  จนได้เวลากลับบ้าน  เมื่อเด็กคนนั้นเข้านอนก็นอนละเมอส่งเสียงรัวปืนอยู่ในความฝัน  แล้วตะโกนร้องว่ามึงตายมึงตาย พ่อของเด็กตกใจตื่นขึ้น จึงรีบสำรวจปืนที่อยู่ใต้หมอน  เมื่อรู้ว่าปืนยังอยู่ใต้หมอนเหมือนเดิมพ่อของเด็กก็รู้สึกโล่งใจที่มันไม่ใช่เรื่องจริง

                จะเห็นได้ว่าเด็กนั้นมีจิตสำนึกเกี่ยวกับเรื่องการใช้ความรุนแรง  เพื่อตอบสนองอารมณ์ของตนเอง  เห็นได้จากเด็กคนนี้จะหัวเราะชอบใจทุกครั้งที่เขานั้นยิงโดนเป้า แล้วมีเสียงร้องตอบกลับมา  เมื่อยามฝันเขาก็ฝันเรื่องที่เกี่ยวกับการยิงปืน และตะโกนออกมาว่า มึงตาย มึงตาย อันนี้เป็นการบอกได้ว่า เด็กในเรื่องเห็นความรุนแรงเป็นเรื่องสนุก  และเขาจะรู้สึกสะใจทุกครั้งเมื่อได้ใช้ความรุนแรง เพราะว่าเด็กคนนี้ได้เห็นความรุนแรงเป็นเรื่องปกติไปเสียแล้ว  ทั้ง ๆ ที่จริงแล้วมันเป็นสิ่งที่ไม่ควรจะเอามาใช้ในชีวิตประจำวันเลย
                  มันจึงทำให้เราเห็นว่า ในสังคมนั้นกำลังเดินไปสู่อนาคตที่มีแต่ความรุนแรง เสื่อมโทรมลง คนเลือกที่จะใช้ความรุนแรงตัดสินปัญหาต่าง ๆ มากกว่าการใช้สติไตร่ตรองในการแก้ปัญหามากกว่า   ผู้ใหญ่อาจจะสอนเด็กผิด ๆ หรือว่าอาจจะเกิดจากสิ่งรอบ ๆ ตัวที่ใช้แต่ความรุนแรง อาจจะทั้งละครก็มีส่วนส่งผลต่อจินตนาการของเด็กได้   และอาจจะเพราะว่าผู้ใหญ่ไม่เคยที่จะสอนเด็กให้ตะหนักถึงความรุนแรงเหล่านี้ไปในทางที่ถูกต้อง ไม่สอนให้เด็กใช้สติในการแก้ปัญหาต่าง ๆ แต่กลับปล่อยให้เด็กได้เรียนรู้สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้เอง  ถ้ายิ่งปล่อยให้เป็นแบบนี้ไปเรื่อย ๆ    จนถึงขั้นนั้นที่มันความรุนแรงอยู่ในจิตสำนึกแล้ว  มันจะเป็นปัญหาที่ไม่สามารถแก้ไขเลยในอนาคต  และสุดท้ายทุกปัญหาที่เกิดขึ้นก็จำเป็นที่จะต้องใช้กำลังในการยุติปัญหา  ซึ่งมันไม่ใช่วิธีแก้ปัญหาที่ดีและมันไม่มีทางที่จะยุติปัญหาได้จริง
       

วันศุกร์ที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

ตีความ ชื่อบทกวี “เพลง” ในรวมบทกวี “มือนั้นสีขาว” โดย ศักดิ์สิริ มีสมสืบ



ชื่อบทกวี “เพลง” ในรวมบทกวี “มือนั้นสีขาว” โดย ศักดิ์สิริ มีสมสืบ

ตีความ

                บทนี้สื่อถึงการฟังเพลงทั้งหลาย   บางคนอาจจะนั่งฟังเพลงเพื่อให้จิตใจล่องลอยไปตามเสียงเพลง  เปิดใจรับฟังเสียงเพลงที่บรรเลงเพื่อให้จิตใจผ่อนคลาย  การฟังเพลงนั้นก็เป็นการผ่อนคลายความรู้สึกอย่างหนึ่ง ที่ทำให้เราล่องลอยไปตามความรู้สึกต่าง ๆ โดยการใช้หูฟังแล้วปล่อยใจไปตามเสียงเพลง  เปิดใจรับฟังเสียงเหล่านั้น   มันอาจจะได้รับความรู้สึกที่ช่วยบรรเทาสิ่งต่าง ๆ ที่ได้เจอมาในแต่ละวัน   

                แต่ก็มียางส่วนที่เลือกที่จะยินเสียงเหล่านั้น ให้ผ่านเข้าหูไปเฉย ๆ  ออกไปเต้นเพื่อระบายอารมณ์ เต้นสนุกกับจังหวะที่ได้ยิน โดยที่ไม่เคยรับฟังเลยว่า ความหมายของเพลงสื่อถึงอะไร  ก็ไม่ต่างจากคนเราที่ได้ยินเสียงต่าง ๆ แต่ไม่คิดจะเปิดใจรับฟังความหมายของมันเท่านั้นเอง

วันพฤหัสบดีที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

ตีความ ชื่อบทกวี “จังหัน” ในรวมบทกวี “มือนั้นสีขาว” โดย ศักดิ์สิริ มีสมสืบ


ชื่อบทกวี “จังหัน” ในรวมบทกวี “มือนั้นสีขาว” โดย ศักดิ์สิริ มีสมสืบ

ตีความ

                บทนี้จะเห็นว่าเด็กน้อยนั่งดูใบจังหัน (กังหัน) ที่หมุน   จังหันมันหมุดเร็วมากเมื่อโดนลม เด็กน้อยอยากจะดูใบจังหันแต่เด็กน้อยไม่สามารถสั่งลมให้หยุดพัดได้  เธอจึงจับจังหันหนีลมแทน เมื่อใบจังหันหยุด  เธอเห็นว่าใบจังหันมีอยู่สี่ใบ คุณตาของเธอได้เขียนข้อความไว้ในใบจังหันแต่ละใบว่า แต่เมื่อจังหันหมุนเธอไม่สามารถอ่านได้ว่ามันมีคำอะไรบ้าง  แต่เมื่อมันหยุดเธอจึงสามรถอ่านได้ว่ามีคำว่า  รัก โลภ โกรธ หลง เขียนไว้ในจังหันแต่ละใบ

                บทนี้ฉันคิดว่า จังหันนั้นน่าจะเปรียบเสมือน ชีวิตของคนเรา ที่วิ่งวนอยู่ในวงจรของความรัก โลภ โกรธ หลง อยู่ตลอดเวลา  ถ้าเราไม่หยุดดูมันแล้วคิดสักนิดว่าสิ่งเหล่านี้ทำให้เราเกิดทุกข์ ทั้งทางกายและใจ  ถ้าเราเลือกที่จะวิ่งต่อไปเรื่อย ๆ เราก็จะอยู่ในวงล้อมของมัน และไม่มีทางที่เราจะรู้ตัวได้ว่าเรากำลังยึดติดอยู่ในสิ่งเหล่านั้น เราจะไม่สามารถหนีพ้นได้ ถ้าเราไม่คิดจะหยุดความรู้สึกและความคิดของเราเอาไว้ตรงนั้น  แต่่เมื่อเราเลือกที่จะหยุดสิ่งต่าง ๆ เหล่านั้นแล้วถอยออกมา   เราจะสามารถรู้ได้ว่าสิ่งที่เราติดอยู่มันคืออะไร  เรากำลังยึดติดกับสิ่งเหล่า ที่มันไม่สามารถทำให้เกิดความสุขในชีวิตได้จริง ๆ 

                เพราะว่าถ้าเรายังอยู่ในจุดที่เราเป็นอยู่  ยืนอยู่ในจุดนั้น เราไม่สามารถมองได้ทั่วว่าสิ่งนั้นคืออะไร แต่เมื่อเราเลือกที่จะหยุด แล้วยืนมองมันเราจะรู้ได้ทันทีว่า เราควรทำอะไรต่อไปหลังจากนี้ ก็เหมือนใบของจังหัน ที่เมื่อมันหมุดอยู่ เราจะไม่รู้ว่าใบนั้นเขียนคำว่าอะไร  ในเมื่อเราไม่สามารถที่จะสั่งห้ามลมได้ เราก็ควรที่จะห้ามตัวเองไม่ให้โดนลม ถ้าไม่โดนลมแล้ว มันก็เหมือนกับว่าเราได้หยุดสิ่งนั้นแล้ว เมื่อเราหยุดเราก็สามารถมองออกในสิ่งที่เรามองไม่เห็นเมื่อใบจังหันหมุน  

วันจันทร์ที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

รีวิวหนังสือ นิธิ เอี่ยวศรีวงศ์ อ่านเศรษฐกิจไทย ลำดับที่ 2 วัฒนธรรมเศรษฐกิจพอเพี้ยง ของ นิธิ เอี่ยวศรีวงศ์


รีวิวหนังสือ  นิธิ   เอี่ยวศรีวงศ์  อ่านเศรษฐกิจไทย ลำดับที่ 2   วัฒนธรรมเศรษฐกิจพอเพี้ยง


 นิธิ   เอี่ยวศรีวงศ์  อ่านเศรษฐกิจไทย ลำดับที่ 2   วัฒนธรรมเศรษฐกิจพอเพี้ยง



ชื่อเรื่อง                   นิธิ   เอี่ยวศรีวงศ์  อ่านเศรษฐกิจไทย ลำดับที่ 2   วัฒนธรรมเศรษฐกิจพอเพี้ยง
ผู้แต่ง                      นิธิ   เอี่ยวศรีวงศ์ 
สำนักพิมพ์             openbooks

                เล่มนี้นิธิได้วิพากษ์วิจารณ์หลายอย่างในเล่มนี้  ทั้งวัฒนธรรมของชาวบ้าน และความเปลี่ยนแปลงของชาวบ้านที่ดำเนินไปในทางที่แย่ลงเรื่อย ๆ ชีวิตประชาชนเริ่มตกตำลง และถูกสร้างฝันลม ๆ แล้ง ๆ ว่าอนาคตจะไม่มีคนจน ทุกคนจะสุขสบาย    นิธิทำให้เราเห็นได้ว่าเศรษฐกิจพอเพียงนั้นไม่ใช่ว่าคนทั่วไปจะสามารถทำกันได้ง่าย ๆ  เพราะคนเรามีข้อจำกัดที่แตกต่างกันในการมีทรัพยากรในการดำรงชีวิต   ทำให้เราไม่สามารถทำเศรษฐกิจพอเพียงกันได้อย่างที่ทางการต้องการ   เพราะว่าประชาชนหลายคนนั้นไม่มีพื้นที่เพียงพอที่จะทำได้  เนื้อจากโดนเอาเปรียบในทางต่าง ๆ มากมาย จากตอนแรกเป็นเจ้าของที่ดินของตนเอง  เมื่อก่อนเคยปลูกทั้งข้าวทั้งผลไม้ พืชต่าง ๆ ไว้เพื่อเลี้ยงชีพของตนเอง  มีการแบ่งปันเพื่อนบ้านบ้าง แต่ว่าเมื่อทุนนิยมเข้ามา สิ่งต่าง ๆ ได้เปลี่ยนไป  จากความสุขที่เคยมีก็โดนเอาเปรียบจนยากจน  จากตอนแรกเป็นนายตนเอง ก็ต้องกลายมาเป็นลูกจ้างตามโรงงานต่าง ๆ เราจะได้เห็นการเปลี่ยนแปลงสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในไทย  นั้นว่ามีสาเหตุมากจากอะไรบ้าง   ฉันคิดว่าหนังสือเล่มนี้เป็นสิ่งที่น่าสนใจทีเดียว เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่เกิดในบ้านของเรา   

วันอาทิตย์ที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

ตีความ ชื่อบทกวี “บุญ” ในรวมบทกวี “มือนั้นสีขาว” โดย ศักดิ์สิริ มีสมสืบ


ชื่อบทกวี “บุญ” ในรวมบทกวี “มือนั้นสีขาว” โดย ศักดิ์สิริ มีสมสืบ

ตีความ
            
    ในบทนี้เราจะเห็นภาพว่าพระฉันเพล  เด็กวัดก็ต่างมานั่งมองพระฉัน  เมื่อพระฉันเสร็จแล้ว เด็กวัดก็ได้กินอาหารต่อ   หมาก็จะนั่งมองเด็กวัดกินอาหาร  เมื่อเด็กวัดอิ่มแล้ว  หมาก็จะได้กินอาหารต่อ  แต่ว่าเมื่อหมากินอาหารนั้น  กลับมีเด็กมอมแมมมองหมากิน  ในบทนี้ผู้แต่งได้บอกอีกว่าที่นี้เป็นที่ขายบุญ เมื่อมาซื้อก็จะได้บุญ  เพราะได้แบ่งบุญให้กันเป็นทอด   คนไม่มีบุญได้แต่มองการกินอาหารเหล่านั้น   คนไร้โอกาสได้แต่คิดว่าบุญคืออะไร
      
          ซึ่งมันทำให้เห็นได้ว่า คนเรายึดติดแค่กับว่าการทำบุญคือการใส่บาตรพระถึงจะได้บุญ การเข้าวัดเข้าวาถึงจะได้บุญ   แต่กลับไม่เคยนึกถึงเลยว่าการที่เราช่วยเหลือเด็กไร้โอกาส หรือคนที่เขาไม่มีโอกาสแม้จะได้กินข้าวให้อิ่มท้องในแต่ละมื้อนั้นจะเป็นการได้บุญอีกทางหนึ่งเหมือนกัน    แต่ว่าในความเป็นจริงแล้ว คนที่ยากไร้เหล่านี้กลับได้รับความรังเกลียดจากคนส่วนมาก มากกว่าที่จะเห็นใจเสียด้วยซ้ำ  

บทนี้สะท้อนให้เห็นว่ายังมีอีกหลายสิ่งหลายอย่างที่รำบากอยู่ในโลกใบนี้ แต่กลับมีแต่คนมองข้าม  มีแต่คนรังเกียจทั้ง ๆ ที่เขาก็มีชีวิตจิตใจเหมือนกัน  แต่ทำไมเราจึงมองข้ามเขาไปแบบนั้น   บางทีการเป็นหมาวัดอาจจะมีความสุขมากกว่าเกิดมาเป็นคนแบบพวกเขาก็ได้ อยากน้อยหมาก็มีอาหารให้กินซึ่งต่างจากคนเหล่านี้  ที่ไม่รู้ว่าจะได้กินอาหารในแต่ละวันหรือไม่   ฉันคิดว่าการที่เราช่วยเหลือผู้ด้วยโอกาสแบบไม่หวังผล อาจจะดีกว่าการที่ทำบุญอยู่ทุกวันนี้ก็ได้  เพราะการที่เราช่วยเหลือผู้ตกทุกได้ยาก  มันเป็นการต่อชีวิต เป็นการให้อนาคตของเขาก็ได้  แต่ทำไมหนอพวกเขาถึงโดนมองข้ามไปได้มากขนาดนั้น  คนเราทำบุญเพื่อหวังจะได้บุญ  แต่จะมีบ้างไหมที่ทำเพื่อช่วยเหลือคนอื่นอย่างบริสุทธิ์ใจจริง ๆ  โดยไม่หวังอะไรเป็นการตอบแทน

วันศุกร์ที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

รีวิวหนังสือเรื่อง นิธิ เอี่ยวศรีวงศ์ อ่านเศรษฐกิจไทย ลำดับที่ 1 ความ(ไม่) รู้เรื่องเศรษฐศาสตร์ ของ นิธิ เอี่ยวศรีวงศ์


รีวิวหนังสือเรื่อง   นิธิ   เอี่ยวศรีวงศ์  อ่านเศรษฐกิจไทย ลำดับที่ 1 ความ(ไม่) รู้เรื่องเศรษฐศาสตร์
 นิธิ   เอี่ยวศรีวงศ์  อ่านเศรษฐกิจไทย ลำดับที่ 1 ความ(ไม่) รู้เรื่องเศรษฐศาสตร์



ชื่อเรื่อง                   นิธิ   เอี่ยวศรีวงศ์  อ่านเศรษฐกิจไทย ลำดับที่ 1 ความ(ไม่) รู้เรื่องเศรษฐศาสตร์
ผู้แต่ง                      นิธิ  เอี่ยวศรีวงศ์
สำนักพิมพ์             openbooks


หนังสือเล่มนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์ในสังคมไทยในมุมมองที่อาจารย์นิธิได้คิดและเขียนขึ้นมาเพราะความที่ไม่รู้ของท่านที่ท่านชอบเน้นย้ำคำนี้อยู่เสมอ   แต่ว่าในความเป็นจริงแล้ว การที่ท่านคิดการตั้งคำถามต่าง ๆ และเสนอความคิดเห็นต่าง ๆ ลงไปนั้น  มันกลับกลายเป็นความรู้มากมายมหาศาลที่เป็นตัวกระตุ้นในเราได้เข้ามารู้จักกับคำว่าเศรษฐศาสตร์ได้ไม่ยากเย็นนัก   มันไม่ยากเกินกว่าที่คนทั่วไปจะเข้าใจเรื่องเศรษฐศาสตร์  และเรื่องเหล่านี้ก็ไม่ใช่เรื่องไกลตัว หรือเป็นแค่เรื่องของนักวิชาการเท่านั้น  แต่มันคือเรื่องที่เกี่ยวข้องกับเราทุกคนในสังคมมากกว่า  โดยที่เราอาจจะไม่ทันคิดหรือรู้ตัวเลยว่า เศรษฐศาสตร์มันได้ดำรงอยู่ในวิถีชีวิตของเราตลอดเวลา   การที่เรารู้ไม่เท่าทันเรื่องเหล่านี้ เราถึงกลายเป็นเหยื่อของผู้ที่คิดจะเอาเปรียบคนอื่นด้วยความคิดที่ว่า เราไม่รู้อย่างเขา เราไม่ได้เรียนอย่างเขา   แต่บางทีความไม่รู้แต่เป็นแค่การตั้งคำถามของเราเฉย ๆ ก็อาจจะทำให้เขารู้สึกร้อนรนอยู่บ้างก็ได้เหมือนกัน

วันอังคารที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

ตีความ ชื่อบทกวี “ถุงมือ” ในรวมบทกวี “มือนั้นสีขาว” โดย ศักดิ์สิริ มีสมสืบ



ชื่อบทกวี “ถุงมือ” ในรวมบทกวี “มือนั้นสีขาว” โดย ศักดิ์สิริ มีสมสืบ

ตีความ

                บทนี้ทำให้ฉันรู้สึกว่าถึงมือที่ใครหลายคนใส่เมื่อสัมผัสกันตอนโตนั้น  ก็ไม่ได้ต่างอะไรจากหน้ากากที่เอาไว้ใส่ในการเข้าหาคนอื่นอยู่ดี ถุงเมือนั้นเมื่อใช้สัมผัสใครสักคนหนึ่งแล้ว ส่วนใหญ่ก็จะเปลี่ยนคู่ใหม่และทิ้งคู่เก่าทันทีเมื่อมันหมดความจำเป็นแล้ว

                ในบทนี้ที่เห็นว่าเด็กน้อยเกิดสงสัยและสับสนว่าทำไมคนที่เป็นผู้ใหญ่ที่อยู่ด้วยกันในสังคม ถึงได้ใส่ถุงมือสัมผัสกัน ทั้ง ๆ ที่เด็กนั้นมีแค่มือเปล่าที่ใช้สัมผัสสิ่งต่าง ๆ เด็กจึงหาถุงมือในถังขยะที่มีคนทิ้งไว้  เมื่อเด็กลองใส่มันก็หลวมมาก ถอดออกได้ง่าย  แต่เมื่อเด็กน้อยโตขึ้นมันก็ไม่สามารถถอดได้แล้ว    

                ทำให้ฉันเห็นว่ามันก็เปรียบเสมือนกับคนเราเมื่อยามที่เราเป็นเด็ก  เราต่างชอบที่จะใช้มือเราสัมผัสสิ่งต่าง ๆ มากมายเพื่อเรียนรู้  แต่เมื่อเราโตขึ้นเรื่อย ๆ สิ่งเหล่านั้นก็หายไป  จากมือเปล่าที่เคยสัมผัสกันกับใครหลายคน  เราต่างได้รับความรู้สึกต่าง ๆ มากกมายจากการจับมือด้วยความบริสุทธิ์ใจ ด้วยความเป็นมิตร  แต่เมื่อเราโตขึ้นเราจะรู้ว่าเพราะเหตุใดเราถึงต้องใส่ถุงมือในการเข้าหาคน  

                ฉันคิดว่าเมื่อเราโตขึ้นสังคมจะทำให้เรารู้ว่า บางทีการที่เราใส่ถุงมือเข้าหาคนอื่น มันมีหลายเหตุผล บางคนอาจจะรังเกลียดคนนี้  บางคนอาจจะแกล้งเล่นละครตบตา คนเรามีเหตุผลหลายอย่างในการที่จะเข้าหาใคร เพราะบางคนการที่เขาใส่ถุงมือเข้าหาคนอื่น อาจจะเพราะว่าเขาต้องการป้องกันตัวเองไม่ให้รู้สึกเจ็บช้ำเหมือนเมื่อต่าง ๆ ที่ผ่านมา ที่เขาพยายามจะจับมันด้วยความจริงใจ แต่สุดท้ายเขาก็ไม่อาจจะสัมผัสถึงมือของอีกฝ่ายได้จริง ๆ เพราะอีกฝ่ายได้ใส่ถุงมือตั้งแต่ครั้งแรกที่เขามาทักเขาแล้ว 
สิ่งต่าง ๆ มันมีหลายเหตุผลแต่มันก็คงอยู่ที่เราเป็นคนตัดสินกันเอง  แต่มันก็คงเป็นไปไม่ได้ที่ทุกคนจะใส่ถุงมือเข้าหาเราเสมอ และมันก็เป็นไปไม่ได้เช่นกันที่ทุกคนจะไม่ใส่ถุงมือเข้าหาเรา     

วันอาทิตย์ที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

รีวิวหนังสือเรื่อง ดนตรี พื้นที่ เวลา ของ อติภพ ภัทรเดชไพศาล


รีวิวหนังสือเรื่อง   ดนตรี  พื้นที่   เวลา
 ดนตรี พื้นที่ เวลา


ชื่อเรื่อง                   ดนตรี  พื้นที่   เวลา
ผู้แต่ง                      อติภพ ภัทรเดชไพศาล
สำนักพิมพ์             openbooks

               
                หนังสือเล่มนี้เป็นการศึกษาการเมืองผสมกับบทเพลงที่เกิดขึ้นให้ช่วงยุคต่าง ๆ  หนังสือเล่มนี้ได้บอกถึงการเปลี่ยนแปลงทางความคิดและสภาพสังคมในแต่ละยุคจากบทเพลง   ทำให้เราเห็นว่าบทเพลงที่อยู่ในสังคมของเรานั้น  เพลงในยุคต่าง ๆ ได้บอกเล่าเรื่องราวของเหตุการณ์ทางการเมืองได้เป็นอย่างดี  เมื่อได้ฟังเราจะสามารถเข้าใจได้เลยว่ามันมีสิ่งใดบ้างที่เกิดขึ้นมาในยุคนั้น  นอกจากนี้ในเล่มยังได้บอกถึงความคิดของสมัยก่อนเกี่ยวกับดนตรีที่มีเล่นกันมาตั้งแต่สมัยก่อน บอกถึงความคิดของคนสมัยก่อนเกี่ยวกับศิลปะดนตรีตั้งแต่เริ่มต้น จนถึงทุกวันนี้ที่เกิดการเปลี่ยนแปลงไปเรื่อย ๆ อย่างเห็นได้ชัด 

วันเสาร์ที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

ตีความ ชื่อบทกวี “หลับ” ในรวมบทกวี “มือนั้นสีขาว” โดย ศักดิ์สิริ มีสมสืบ


ชื่อบทกวี “หลับ” ในรวมบทกวี “มือนั้นสีขาว” โดย ศักดิ์สิริ มีสมสืบ

ตีความ

                บทนี้แสดงให้เห็นภาพของคนใช้รถสาธารณะที่มีความแออัดมาก  และอันตรายในการเดินทาง   มันแสดงถึงการคมนาคมที่ไม่ได้มาตรฐานของ เพราะไม่มีความปลอดภัยในการขนส่งคน  ไม่ว่าจะระยะใกล้หรือไกลก็ตาม  ทุกคนควรได้รับความปลอดภัยใน
การสรรจรไปมาโดยใช้รถสาธารณะ   


ถ้าพูดถึงเรื่องสิทธิของคนจริง ๆ ที่สมควรจะได้รับล่ะก็ เราไม่สามารถไปว่าใครได้เลยว่าทำไมถึงไม่มีน้ำใจ ไม่ให้คนแก่ เด็ก สตรีมีครรภ์ และพระสงฆ์นั่ง ถ้าตอบตามความจริงคนทุกคนมีสิทธิ์ที่จะนั่ง  บางคนที่เป็นหนุ่มเป็นสาวบางทีเขาอาจจะทำงานที่แสนเหนื่อยจนไม่สามารถจะยืนในตอนนั้นก็ได้   แต่มันก็มีคนส่วนใหญ่ที่คิดว่าไม่อยากจะลุกเพราะไม่อยากเมื่อย เลยแกล้งหลับดีกว่า  อันนี้ก็คงเป็นเหตุผลของแต่ละคนไม่ว่าจะจริงหรือเท็จก็ตาม แต่เราก็ควรจะมองย้อนกลับมาดูตนเองบ้าง ถ้าเกิดมันรำบากเกินไปสำหรับเรา แล้วเราไม่รีบมาก ก็ควรที่จะรอคันต่อไปเพื่อความปลอดภัยในชีวิต เพราะที่คุณยอมขึ้นรถมาเบียนกันแบบนี้คุณก็คิดว่าต้องมีคนลุกให้นั่งอยู่แล้วไม่ใช่หรือ


ถ้ามองในด้านความเห็นแก่ตัว ก็คงต้องมองกันตั้งแต่รัฐบาล ทำไมถึงไม่พัฒนาให้มันดีขึ้นทั้ง ๆ ที่ก็เก็บเงินภาษีของประชาชนไปไม่น้อยเลย แต่ประชาชนกับได้รับความปลอดภัยในการเดินทางน้อยกว่าที่ควรจะเป็น   ต่อมาก็คงต้องมองคนขับรถที่ทำไมถึงให้คนเข้าไปแอแดกันขนาดนั้น หรือทำไมไม่เพิ่มรอบรถให้สอดคล้องกับความต้องการใช้ของประชาชน  เพราะมีส่วนมากที่รู้ว่ารถสายนี้จะต้องใช้เวลารอนานมากกว่าจะมาสักคัน  จึงทำให้คนขึ้นไปเบียดกันแน่น ต่างคิดว่าเดี๋ยวก็ต้องมีคนลง แต่กลับไม่คิดว่าเดี๋ยวก็มีคนขึ้นมาอีก   ต่อมาก็มองคนใช้บริการ ถ้าเกิดว่าเห็นรถเที่ยวนี้มันไม่ปรอดภัยสำหรับเรา เราก็ควรจะรอคันถัดไป  แต่ว่าการที่รอคันต่อไปมันก็ไม่ได้เป็นการยืนยันว่ารถจะไม่เต็มเหมือนคันนี้


ปัญหาเรื่องการคมนาคมของไทยนั้น เป็นสิ่งที่มีมาอย่างไรก็มีอยู่อย่างนั้นไม่คิดที่จะพัฒนา  กลับปล่อยให้ทรุดโทรมและแย่ลง  และสังคมสมัยนี้มีความเร่งรีบอยู่ตลอดเวลา  พยายามใช้ชีวิตให้ทันเวลา คงไม่แปลกเลยที่ใครต่อใครจะสนใจตัวเอง หรือใส่ใจตัวเองมากกว่าคนอื่น

วันศุกร์ที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

รีวิวหนังสือเรื่อง ตามล่าคดีเลือด ของ เจนจบ ยิ่งสุมล


รีวิวหนังสือเรื่อง   ตามล่าคดีเลือด
 ตามล่าคดีเลือด



ชื่อเรื่อง                   ตามล่าคดีเลือด
ผู้แต่ง                      เจนจบ  ยิ่งสุมล
สำนักพิมพ์             บริษัท-กำจัด กายมารุต



                หนังสือเล่มนี้เกี่ยวกับคดีเก่า ๆ ที่เป็นคดีสะเทือนขวัญของไทย  ซึ่งนับตั้งแต่เรื่องเหล่านั้นเกิดจนถึงปัจจุบันนี้  คดีเหล่านั้นก็ยังไม่ได้คลี่คลายสู่สังคมไทยเลย   ทุกคดีมีเงื่อนงำแปลก ๆ และแทบจะไร้ซึ่งหลักฐานในการเปิดโปรงคนร้ายได้อย่างหมดจด   ทุกคดียังทิ้งข้อสงสัยไว้ว่าใครคือคนร้ายตัวจริง  ได้ใช้วิธีลงมืออย่างไรบ้าง   ทุกอย่างกับเป็นเรื่องที่พิสูจน์ไม่ได้ มีแต่ข้อสงสัย มีแต่การตั้งคำถาม แต่ไม่สามารถไขคดีได้กระจ่าง    



                อยากให้คุณลองดูคดีตัวอย่างเหล่านี้  แล้วลองมาดูที่สังคมปัจจุบันสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้มันยังคงเหมือนเดิมหรือไม่  ผู้ที่กระทำผิดนั้นได้ลอยนวลเหมือนเมื่อก่อนหรือเปล่า  คิดยังไงกับการที่คนที่อ่อนแอต้องถูกคนที่มีอิทธิพลกดขี่อยู่แบบนี้   เรื่องราวต่าง ๆ ในหนังสือเล่มนี้ที่เป็นอดีตเมื่อนานมาแล้ว  แต่ทำไมทุกวันนี้ก็แทบไม่ต่างจากอดีตที่ผ่านมา  แต่กลับมากขึ้นด้วยซ้ำไป   เราควรตั้งคำถามได้หรือยังว่ามันเกิดอะไรขึ้นกับสังคมของเรา 


วันพฤหัสบดีที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

ตีความ ชื่อบทกวี “ทางเข้า” ในรวมบทกวี “มือนั้นสีขาว” โดย ศักดิ์สิริ มีสมสืบ


ชื่อบทกวี “ทางเข้า” ในรวมบทกวี “มือนั้นสีขาว” โดย ศักดิ์สิริ มีสมสืบ


ตีความ


                บทนี้ให้ความรู้สึกว่าเหมอนกับมีพื้นที่เปิดกว้างให้ทุกคน  ทั้งมนุษย์และเทวดาให้มาอยู่ในที่แห่งนี้ได้   โดยที่ไม่มีการแบ่งแยก   มีหลายสิ่งหลายอย่างในพื้นที่แห่งนี้ ซึ่งดูเหมือนจะวิเศษกว่าที่ไหน ๆ แต่ว่าเมื่ออ่านมาถึงตอนสุดท้ายที่บอกว่า รองเท้าแตะห้ามเข้า   อันนี้กลับให้ความรู้สึกเหมือนกับว่ามีอำนาจของวัตถุนิยมเป็นการแบ่งแยกคนที่สามารถเข้ามาในนี้ได้  



                การที่บอกว่า รองเท้าแตะห้ามเข้ามันก็เหมือนเป็นการแบ่งแยกประชาชน เพราะว่ารองเท้าแตะนั้นส่วนใหญ่แล้วก็มีแต่ประชาชนทั่วไป ชาวบ้านธรรมดาที่นิยมในการสวมใส่ พื้นที่แห่งนี้เลยกลายเป็นว่าเป็นเพื่อนที่เฉพาะกลุ่ม  เหมือนจะเปิดรับทั้งหมดแต่ก็ไม่ใช่   เพราะยังมีข้อห้ามในการแบ่งแยกชนนั้นกันอยู่ ซึ่งแสดงออกโดยใช้วัตถุนิยมนั้นเอง

วันพุธที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

รีวิวหนังสือ ความน่าจะเป็นบนเส้นขนาน ของ วินทร์ เลียววาริณ และ ปราบดา หยุ่น


รีวิวหนังสือ   ความน่าจะเป็นบนเส้นขนาน
ความน่าจะเป็นบนเส้นขนาน



ชื่อเรื่อง                   ความน่าจะเป็นบนเส้นขนาน (เล่ม1)
ผู้แต่ง                      วินทร์   เลียววาริณ และ ปราบดา   หยุ่น
สำนักพิมพ์             openbooks


                หนังสือเล่มนี้เป็นการเขียนอีเมลสนทนาระหว่างคุณวินทร์ เลียววาริณ กับ คุณปราบดา หยุด  เรื่องนี้ที่น่าสนใจก็คือ เป็นการที่ทั้งสองนั้นได้ตอบโต้กับผ่านมุมมองต่าง ๆ ในสังคม ซึ่งมีทั้งสิ่งที่ตรงกันบ้าง หรือ ขัดแย้งกันบ้าง  ฉันคิดว่าการได้ตามอ่านเรื่องนี้ตั้งแต่เล่ม 1-7 นั้นมันทำให้เราเห็นประสบการณ์และความรู้บางอย่างที่เราอาจจะคิดไม่ถึงก็ได้   ทั้งสองนั้นได้โต้ตอบกันได้สนุกสนานไม่รู้เบื่อ อาจจะเพราะว่าทั้งสองมีความเป็นตัวของตัวเองมาก พูดคุยกันแบบเพื่อนที่มีเรื่องต่าง ๆ มาเล่าสู่กันฟังแต่ละวัน แต่ว่าทั้งสองมักแฝงสิ่งต่าง ๆ ที่สังคมควรตั้งคำถาม หรือความปกติของทุกวันนี้ที่เจอ แต่กลับถูกมองว่าเป็นเรื่องปกติกันไปเสียแล้ว  ลองอ่านดูแนวคิดของทั้งสองท่านนี้ดูนะคะ ถ้าท่านอ่านเอาสนุกท่านก็จะสนุกในการอ่าน แต่ถ้าท่านเอาสาระ เอาแง่คิด ท่านก็จะได้ทั้งสาระและแง่คิด  ทั้งสนุกและได้สาระมากกว่าที่ท่านคาดไว้  ทุกอย่างอยู่ที่ท่านเป็นคนตัดสินว่าท่านนั้นอยากจะได้อะไรกลับไปในการอ่านเล่มนี้