วันจันทร์ที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

ตีความ ชื่อบทกวี “หาบน้ำ” ในรวมบทกวี “มือนั้นสีขาว” โดย ศักดิ์สิริ มีสมสืบ



ชื่อบทกวี “หาบน้ำ” ในรวมบทกวี “มือนั้นสีขาว” โดย ศักดิ์สิริ มีสมสืบ

ตีความ

                บทนี้ทำให้เราเห็นได้สองภาพ มีตัวละครสองตัวคือหญิงสาวคนที่หนึ่ง และคนที่สองทั้งสองทำการหาบน้ำเหมือนกัน แต่ว่าวิธีการหาบนั้นแตกต่างกัน  เราจึงเห็นภาพเปรียบเทียบได้ชัดเจน   คนที่หนึ่งนั้น หาบน้ำแบบผ่อนคลายสบาย ๆ  ไม่ฝืนและไม่ขืนตัวเอาไว้เพื่อแบกรับน้ำหนักของคาน   ปล่อยไปตามสบายค่อย ๆ ทำไม่เร่งรีบ  ปล่อยไปตามธรรมชาติรู้จักทำให้ตัวเองเป็นหนึ่งเดียวกับไม้คานได้  โดยไม่ต้องฝืนใช้แรงโดยเกินกำลัง  จึงไม่ลำบากเท่าคนท่าคนที่สองที่ใช้แรงอย่างเต็มที่เพื่อที่จะรับน้ำหนักของไม้คานได้  โดยไม่รู้จักผ่อนหนักผ่อนเบาใช้แต่แรง จึงทำให้น้ำในหาบหกและหนักเกินกว่าที่จะทนได้ 

                มันทำให้เห็นว่า คนเรานั้นถ้าเกิดว่าใช้แต่กำลัง แต่ไม่ใช้สมองในการคิดหาทางออกที่จะทำให้เราสามารถทำสิ่งนั้นให้บรรลุเป้าหมายไปได้โดยที่ไม่ต้องใช้แรงเกินกำลังของตน และไม่ฝืนตนเองมากเกินไป  การที่เรายิ่งฝืนตัวเองมากเท่าไหร่ เราก็ยิ่งแบกรับมันไม่ไหว เพราะมันจะหนักเกินกว่าที่เราจะรับได้  แต่ถ้าหากว่า เราปล่อยใจไปตามสบาย ๆ ไม่ฝืนตัวเอง ไม่ฝืนทั้งกายและใจ ทำใจยอมรับสิ่งเหล่านั้นได้  เราก็สามารถที่จะเดินไปข้างหน้า และบรรลุเป้าหมายได้โดยที่เราไม่เหนื่อยและไม่หนักมากจนเกินกำลังของเรา 

                ฉันคิดว่ามันก็เหมือนกับชีวิตของคนเรา  คนเราต่างแบกรับอะไรมามากมายในชีวิต ถ้าเราปล่อยวาง ทำตามที่มันเป็นไปด้วยความเต็มใจ ยอมรับกับปัญหาเหล่านั้นได้ และพร้อมจะประคับประคองจะเดินหน้าไปกับมัน โดยที่เราไม่ต้องฝืนตัวเองให้เหนื่อยให้ท้อหนักเกินกว่าจะรับไหว  เราก็จะสำเร็จได้เร็วเหมือนดังคนแรก   แต่ถ้าเราทำอย่างคนที่สอง  ที่พยายามใช้แรงที่มีอยู่มากจนเกินไป โดยที่ไม่คิดที่จะปล่อยวางตัวสบาย ๆ แล้วเดินไปพร้อมกับหาบ แต่เลือกที่จะฝืนแบกมันไว้ และขืนตัวไว้เพื่อให้มันเป็นไปอย่างที่เราต้องการ  แต่หารู้ไม่ว่ายิ่งเราฝืนมากเท่าไหร่ ผลที่สำเร็จนั้นก็จะช้าและหนักหนาจนอาจจะทำให้เราท้อและหมดพลังที่จะทำมันให้สำเร็จได้