วันเสาร์ที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2561

ตีความชื่อบทกวี “หมานำเกวียน” ในรวมบทกวี “มือนั้นสีขาว” (เรื่องที่9) โดย ศักดิ์สิริ มีสมสืบ


ชื่อบทกวีหมานำเกวียนในรวมบทกวีมือนั้นสีขาวโดย ศักดิ์สิริ มีสมสืบ

ตีความได้ว่า
          ในตอนนี้ถ้าอ่านจากตัวบทแล้ว ถ้ามองแค่แบบผิวเผินทำให้รู้สึกว่าตอนนี้มีความตลกขบขันอยู่ในคำพูดของหลานที่เป็นคนบรรยายเรื่อง และในคำพูดของลุงที่ได้ตอบคำถามที่หลานถาม แต่ถ้ามองดูลึก ๆ เข้าไปในความเป็นจริงนั้น มันไม่น่าขำเลยสักนิด เพราะมันสะท้อนให้เห็นชนบทที่อยู่ห่างออกไปจากตัวเมือง ซึ่งเมื่อคนเมืองฟังคนต่างถิ่นพูดบางคำก็เป็นคำธรรมดา เพียงแต่เขาใช้ภาษาถิ่นที่ต่างกันก็เท่านั้นเอง
          และเรายังได้เห็นการเดินทางในชนบทแห่งนี้ ชาวบ้านสังเกตว่าระยะทางอีกไกลแค่ไหนกว่าจะเดินไปถึงในจุดหมาย ซึ่งนับจากระยะทางตามที่หมาเป็นตัวนำทาง ใช้สัญชาตญาณของสัตว์นั้นเอง หมานั้นเป็นสัตว์ที่ห่วงถิ่นของตนเอง เวลาไปไหนมาไหนมันมักจะไปฉี่ในที่ที่มันผ่านตลอดระยะทางในการเดินทาง ชาวบ้านจึงนับว่าตลอดเวลาที่เป็นทางผ่านเส้นทางนี้หมาได้ฉี่กี่ครั้งแล้ว มันเป็นการใช้วิธีชีวิตแบบก่อนที่จะมีสังคมแบบเมืองเข้ามา คือเมื่อก่อนคนจะรู้ว่าข้างหน้าจะเกิดอะไรขึ้น ก็เพราะจากการสังเกตจากธรรมชาตินั้นก็คือจากสัญชาตญาณของสัตว์ต่าง ๆ ที่มักจะทำสิ่งเหล่านั้น เพื่อเป็นการเตือนล่วงหน้า
          และในตอนนี้ยังทำให้รู้สึกหดหู่นิด ๆ จากการกระทำของครูที่เอาแต่พูดว่า กรรมของกู กรรมของกู ซึ่งถ้ามองจากความเป็นจริงย้อนกลับไปในอดีต ก่อนที่เราจะมีสังคมเมืองแบบนี้เข้ามา เราก็เคยใช้ชีวิตแบบนั้นไม่ใช่หรือ แล้วถ้าเรากลับไปใช้ชีวิตแบบนั้นอีกสักครั้ง มันแย่มากขนาดนั้นเลยเหรอ แต่เมื่อมาฟังคำพูดของลุงกับหลานตอนจบยิ่งทำให้เห็นถึงความอดสูนิด ๆ ของคนที่ใช้ชีวิตอยู่แต่ในเมืองตั้งแต่เล็กแต่น้อย ไม่เคยไปเยือนในที่ต่างถิ่น คำที่ลุงพูดก็คือน้ำใจของครูสู้หมากูก็ไม่ได้  มันทำให้เห็นว่า ก็จริงอย่างที่ลุงบอก เพราะครูเอาแต่นึกถึงความสะดวกสบายของตนเอง จนไม่มองไปรอบ ๆ ทั้ง ๆ ที่จริงแล้วครูนั้นอาจจะโชคดีกว่าชาวบ้านบางคนที่ไม่ได้นั่งเกวียนแล้วมาลงเดินใกล้ ๆ หมูบ้านที่ใกล้จะถึงแบบครู เพราะบางคนอาจจะต้องเดินทางทั้งไปและกลับด้วยขาทั้งสองข้างเป็นประจำก็ได้