วันอังคารที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2561

วิเคราะห์หนังสือเรื่องหนุ่มหน่ายคัมภีร์ ของสุจิตต์ วงษ์เทศ


วิเคราะห์หนังสือเรื่องหนุ่มหน่ายคัมภีร์ ของสุจิตต์ วงษ์เทศ
หนุ่มหน่ายคัมภีร์ พิมพ์ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2512 ในเนื้อเรื่องส่วนใหญ่เป็นความไม่พอใจต่อระบบอาวุโสหรือซีเนียริตี้ในมหาวิทยาลัย ผ่านกิจกรรมก็คือการรับน้อง ได้รับอิทธิมาจากต่างประเทศ โดยกลุ่มคนที่นำเอาการรับน้องนี้เข้ามาคือกลุ่มอาจารย์และนักศึกษาที่ไปเรียนต่อต่างประเทศ ซึ่งไม่ได้นำความรู้กลับมาเพียงอย่างเดียวแต่ยังเอาวัฒนธรรมบางส่วนกลับมาด้วย ทั้งนี้ระบบอาวุโสหรือซีเนียริตี้ก็สอดคล้องพอดีกับค่านิยมของสังคมไทย
เรื่องนี้ยังสะท้อนให้เห็นว่า   ทองปนพยายามจะต่อสู้กับอำนาจอาวุโสที่มีมานาน   ทองปนพยายามที่จะตอบโต้เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้น   ให้ผู้คนตะหนักว่าอะไรถูกอะไรผิด รู้จักมีเหตุมีผลให้มากกว่านี้ไม่ใช่ว่าอ้างว่าตัวเองมีอำนาจโดยใช้ระบบอาวุโสเป็นตัวตั้ง   ไม่ใช่แค่กำหนดว่าเรามีอำนาจเพราะเราเกิดก่อน มาก่อน อยู่ก่อน เราย่อมรู้มากกว่าพวกคุณที่มาที่หลัง   ซึ่งมันไม่จริงเลย  ความรู้ของคนไม่ได้อยู่ที่อายุมากกว่าหรือน้อยกว่า   ไม่ได้อยู่ที่เรามาก่อนแล้วเก่งกว่ารู้มากกว่า   ซึ่งจริงๆแล้ว  ควรมองกันที่ความคิด  มองกันที่การกระทำ  มองกันที่ความสามารถ  มองโดยใช้หลักเหตุผลมากกว่าระบบอาวุโส
จากเรื่องนี้ทำให้เห็นว่าพวกอาจารย์คือคณะเจ้าที่พยายามจะรักษาอำนาจของตัวเองคงไว้  ไม่ยอมรับความคิดใหม่ ๆ คิดว่าตัวเองถูกเสมอ จะด่าใคร จะว่าใครยังไงก็ได้   ทุกคนต้องฟังตัวเองเท่านั้น  เพราะตัวเองได้ไปศึกษามาได้กว้างไกลกว่าคนที่อยู่แต่ในบ้านในเมืองของตนเองเท่านั้น
 พวกรุ่นพี่ก็คือข้าราชการ   คิดว่าตัวเองมีอำนาจที่จะสั่งการอะไรใครก็ได้   เพราะตัวเองอยู่มาก่อน  ได้มาศึกษาอยู่ก่อน  ใครจะมาต่อต้านไม่ได้  ใครจะมาแปลกแยกหรือไม่ทำตามที่ตัวเองสั่งไม่ได้   คำสั่งของตัวเองเป็นสิทธิ์ขาดเท่านั้นไม่ว่าจะสั่งให้ทำอะไรก็ตาม  ทั้งที่ไม่รู้ตัวเลยว่าการปฏิบัติตนแบบนี้ก็ไม่ต่างอะไรจากขี้ข้าของอเมริกา    และการรับน้องก็มีมานานแล้วใครจะไม่ปฏิบัติตามไม่ได้  โดยมองแต่ว่าใครๆก็ทำแบบนี้ทั้งนั้น  คนที่ไม่ปฏิบัติตามก็คือคนแปลกแยก   และไม่ต้องการคนที่จะมาเปลี่ยนแปลงอะไรที่มีมานานแล้ว   เพราะกลัวว่าอำนาจที่ตัวเองมีจะเสื่อมลงถ้ารับความคิดใหม่ ๆ เข้ามา  
ตัวทองปนและเพื่อน ๆ พยายามจะตอบโต้ ต่อสู้กับอำนาจอาวุโสเพื่อให้ได้รับความเป็นธรรม  ให้พวกที่มีอำนาจได้เห็นว่าคนที่เกิดก่อน คนที่มาก่อน คนที่คิดว่าตัวเองมีอำนาจเหนือกว่าคนอื่นนั้น   อาจจะมีสมองไม่มากพอที่จะแยกแยะเหตุผลของความเป็นจริงได้  ว่าสิ่งไหนถูกสิ่งไหนผิด   ดีแต่ทำตามกันไป  เพราะเคยทำกันมาแบบนี้  ปฏิบัติกันมาแบบนี้  คนรุ่นใหม่ต้องยอมรับสิ่งที่มีมาก่อน  คนรุ่นใหม่ไม่สามารถทำอะไรได้นอกจากยอมรับและสืบทอดทำกันต่อไปเท่านั้น  มัวแต่คิดว่าก็เขาทำมาแบบนี้จะให้เปลี่ยนได้ไง   โดยที่ไม่มองว่าสิ่งที่ทำมันไรสาระ  ยุคสมัยใหม่กำลังเปลี่ยนแปลงไป  คนสมัยใหม่กำลังจะเข้ามาแทนที่อำนาจเก่า ๆ ที่เคยมีอยู่  มันเป็นโลกของคนยุคใหม่   แต่แล้วข้อสรุปของเรื่องนี้  คนที่พยายามจะเปลี่ยนแปลง  แต่สุดท้ายก็เปลี่ยนแปลงอะไรไม่ได้เลย    เพราะด้วยเหตุที่ว่ามันมีมานานแล้ว   เราไม่สามารถปรับแก้ให้อะไรมันดีขึ้นได้   นอกจากรอให้พวกคนรุ่นเก่าตายไปเท่านั้นเอง