วันศุกร์ที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2561

ตีความชื่อบทกวี “หึ่ง” ในรวมบทกวี “มือนั้นสีขาว” (เรื่องที่6) โดย ศักดิ์สิริ มีสมสืบ


ชื่อบทกวีหึ่งในรวมบทกวีมือนั้นสีขาวโดย ศักดิ์สิริ มีสมสืบ

ตีความได้ว่า
           ในตอนนี้ต้นเรื่องเป็นการบรรยายวิธีการเล่นของหึ่ง หึ่งคือการละเล่นของเด็กที่ใช้ไม้แม่กับไม้ลูกในการเล่น ใช้ไม้แม่งัดไม้ลูกให้ออกไปที่สุด ถ้าอีกฝ่ายรับลูกได้ ฝ่ายที่เป็นคนใช้แม่ตีก็แพ้ แต่ฝ่ายรับลูกรับไม่ได้ แต่ว่าโยนลูกไปโดนไม้แม่ได้ ไม้แม่ก็แพ้  แต่ถ้าฝ่ายไม้แม่ทำลูกได้ไปไกล อีกฝ่ายรับไม่ได้ โยนก็ไม่ถูกไม้แม่ ฝ่ายลูกก็แพ้ไป การเดาะลูกหึ่งนั้นเดาะได้เท่าไหร่ก็สามารถตีลูกหึ่งตามครั้งที่เดาะได้ คนที่แพ้ต้องทำเสียงหึ่งแล้ววิ่งกลับมาที่หลุมเดิมห้ามทำเสียงหึ่มให้นานที่สุด ห้ามขาดห้วง
          ต่อมานี้แก้วกลับมาที่บ้านแล้วได้เล่าเรื่องนี้ให้พ่อกับแม่ฟังว่า เล่นตีหึ่งแพ้เพื่อน กั้นหายใจเกือบตาย พ่อเผลอปลอบไปว่าวันนี้พ่อก็หึ่มแย่ ตีหึ่งแพ้เสี่ยใหญ่ แล้วพ่อก็ยิ้มให้กับความพ่ายแพ้นั้น ซึ่งแก้วไม่รู้เลยว่ามันมีความหมายแฝงอยู่ในนั้น
          ความหมายแฝงอยู่ในคำพูดและแววตาของพ่อก็คือ ความพ่ายแพ้แก่เสี่ยใหญ่ ซึ่งคำว่าหึ่งหรือหึ่มของพ่อนั้นน่าจะมีความหมายว่า เป็นการทะเลาะกัน เถียงกัน ด่ากัน มีปัญหากัน หรือมีเรื่องมีราวกับเสียใหญ่เสียมากกว่าจะเป็นการละเล่นของแก้ว ในตอนนี้ทำให้เห็นว่ามันมีเรื่องซ้อนกันสองเรื่อง ก็คือหึ่งที่แปลว่าเรื่องการละเล่น กับ หึ่งหรือหึ่มของพ่อที่แปลว่าการทะเลาะ การด่า ซึ่งในทางของพ่อคำว่าหึ่มมันคือความหมายในเชิงลบมากกว่าที่จะคิดได้ว่ามันคือการละเล่น