วันศุกร์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2561

วิเคราะห์เรื่อง ฉากและชีวิต ของ วัฒน์ วรรลยางกูร

วิเคราะห์เรื่อง ฉากและชีวิต ของ วัฒน์  วรรลยางกูร 
ฉากและชีวิตทำให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงทางสภาพสังคมและวิถีชีวิตของคนในชุมชนในเรื่อง ทั้ง ๆ ที่อยู่ในกลางแต่สภาพแวดล้อมเหมือนกับต่างจังหวัดทั่วไป เมื่อสังคมแบบเมืองหลวงเริ่มเข้ามาในพื้นที่นี้ก็ทำให้ทุกอย่างในชุมชนนี้เริ่มเปลี่ยนไป ในเรื่องนี้ความเป็นกรุงเทพฯ ได้เริ่มเข้ามาตั้งแต่ลุงหม่อมได้มาปลูกบ้านในที่ชุมชนนี้ วิธีชีวิตของลุงหม่อมไม่เหมือนคนในถิ่นนี้ ทั้งการประมง การเกษตร และยังมีอีกหลาย ๆ อย่างที่ไม่เหมือนชาวบ้านแถวนั้น เมื่อชาวบ้านเห็นว่าการทำไร่ทำนา เพราะปลูกผลไม้ พืชพันธุ์ต่าง ๆ และการเลี้ยงปลาของลุงหม่อมได้ผลดีมากกว่าที่พวกตนเคยทำ ก็ได้พากันมาศึกษาเรียนรู้เพื่อนำกลับไปใช้ในพื้นที่ของตนเอง ลุงหม่อมได้กระจายอำนาจของเมืองหลวงแพร่ออกไปโดยที่ไม่รู้ตัว
          ชีวิตของตัวละครในเรื่องก็เริ่ม ๆ เปลี่ยนไปเรื่อย ๆ ชีวิตในเมืองหลวงไม่ได้สวยหรูเหมือนอย่างที่ตัวละครในเรื่อง และชาวบ้านที่อยู่ในพื้นที่นี้คิดไว้ ตัวละครที่ต้องจากบ้านของตัวเองเพื่อเข้าสู้ชีวิตชาวกรุงนั้นต่างได้รับผลเสียมากกว่าผลดี เช่นตัวละครในเรื่อง ทั้งน้าน้อย น้าพร และนายท้าย ที่ทั้งสามนี้มีชะตาที่ย่ำแย่ลงเมื่อได้เข้าไปในเมืองหลวง  ตัวละครที่ได้เดินทางไปกรุงเทพนั้นต่างได้รับแผลบางอย่างกลับมาเสมอ และสุดท้ายตัวละครที่จากบ้านไปอยู่กรุงเทพนั้นส่วนใหญ่ก็อยู่ได้ไม่นาน ทุกคนต้องกลับมาอยู่ที่บ้านเดิมของตัวเองอยู่ดี
          ชีวิตของตัวละที่ได้แผลกลับมาจากกรุงเทพนั้นถ้าลองมองจากแนวทางทฤษฎีของมาร์ก ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับการแบ่งแยกชนชั้น เมื่อกรุงเทพถูกสถาปนาด้วยตัวของมันเองว่า มันคือเมืองหลวงซึ่งเป็นพื้นที่ที่ศิวิไลซ์ คนในกรุงเทพจึงมองว่าตัวเองนั้นมีฐานะที่สูงส่งกว่าคนในจังหวัดอื่น จริง ๆ แล้วมันอาจจะไม่เป็นความจริงเลยก็ได้ เพราะมันเป็นแค่ความหลงตัวเองของกรุงเทพ แต่ว่าแนวคิดแบบนี้มันกลับไปสร้างภาพความจำชุดหนึ่งที่ได้จากยุคล่าอาณานิคม จึงเกิดเป็นภาพจำบางอย่างขึ้นมาและภาพจำอันนี้ก็กลับทำให้คนจังหวัดอื่นยอมรับความรู้ชุดนี้ไปโดยที่สุด เห็นได้จากน้อย ที่ได้เดินทางไปทำงานที่กรุงเทพและได้ท้องกลับมาอยู่ที่บ้าน น้อยท้องกับนายทหารในเมืองกรุง เมื่อน้อยได้กลับมาอยู่ที่บ้านเกิดมันกลับทำให้น้อยดูมีระดับขึ้นมากว่าที่จะมีคนเยาะเย้ย เพราะว่าลูกในท้องของน้อยนั้นเป็นถึงนายทหาร เป็นชายในเครื่องแบบ ทำให้เมื่อน้อยกลับมาอยู่ที่เดิมกลับเป็นที่สนใจอยู่เช่นเคย ถึงแม้จะรู้สึกบอบช้ำ เสียใจกับเรื่องนี้บ้าง แต่ก็ไม่ทำให้รู้สึกอายว่าเคยผ่านมือผู้ชายมาแล้ว แถมยังทำให้น้องภาคภูมิใจเสียด้วยซ้ำ ถ้าเปรียบเทียบกับคนที่อยู่ในจังหวัดเดียวกัน ถ้าคนนั้นเกิดเจอชะตากรรมแบบน้อยแต่ว่าพ่อของเด็กคือคนที่ไม่ได้เป็นคนในกรุงเทพและไม่ได้เป็นชายในเครื่องแบบ ก็คงจะโดนนินทาเสีย ๆ หาย ๆ ไม่ดูโก้เก๋เหมือนที่น้อยได้เจอ ผู้ชายก็คงไม่อยากไปมาหาสู้หญิงสาวคนนั้นเหมือนที่ทำกับน้อย
          น้าน้อยชอบคนในเครื่องแบบจึงส่งผลให้น้าพรไปทำงานเป็นคนในเครื่องแบบ สิ่งนี้ก็แสดงให้เห็นว่าตัวละครในเรื่องได้รับอิทธิพลจากความเป็นกรุงเทพเข้าไป เครื่องแบบนี้แสดงถึงความเป็นคนของราชา เป็นสิ่งที่แสดงความเป็นเมืองหลวง เป็นที่น่ายกย่อง มีเกียรติและภูมิใจ ซึ่งเป็นค่านิยมแบบคนในกรุงเทพที่ได้มีส่วนครอบครองความคิดของคนในสังคม ถ้าคนในครอบครัวได้รับราชการหรือว่าคนรักเป็นข้าราชการ เหมือนเป็นการยกระดับฐานะของครอบครัวตัวเองและตนเองขึ้นไปด้วย
          น้าพรชนะใจน้าน้อยด้วยการเป็นคนในเครื่องแบบได้แล้ว แต่รักของน้าพรกับน้าน้อยก็ไม่สามารถสมหวังได้ เพราะว่าน้าน้อยกับน้าพรเป็นญาติห่าง ๆ กัน เมืองไทยมีค่านิยมที่ว่าคนที่เป็นสายเลือดเดียวกันห้ามแต่งงานด้วยกัน เพราะจะทำให้ลูกพิการ สิ่งนี้คือสิ่งที่สังคมได้รับรู้ ซึ่งมันก็เป็นความจริงอยู่ที่ลูกจะพิการแต่ว่ามันก็ไม่ใช่ทั้งหมดที่เปิดเผยให้ประชาชนรับรู้ในข้อห้ามนี้ก็คือการที่แต่งงานกับสายเลือดเดียวกันนั้นเหมือนเป็นการทำตัวเปรียบเสมือนเจ้า เพราะว่าเจ้าของไทยนั้นแต่งงานกับพี่น้องกันเอง เพื่อเป็นการรักษาเลือดเจ้าไว้ให้เข้มข้น ต้องเป็นเลือดที่บริสุทธิ์ ประชาชนจึงไม่มีสิทธิ์ที่จะทำแบบนี้ได้
          ในเรื่องนี้ยังเห็นการท้าทายอำนาจที่เหนือกว่าตน มีฉากหนึ่งที่มีการฉุดผู้หญิงลงเรือแล้วโดนพ่อแม่ฝ่ายหญิงไล่ล่า อันนี้เป็นการแสดงความสามารถของผู้ชายที่ฐานะต่ำกว่า เพราะนี้เป็นทางเดียวที่จะทำให้พ่อแม่ฝ่ายหญิงยอมรับต้นก็ต่อเมื่อลูกสาวของตนนั้นได้เสียกับผู้ชายคนนั้นไปแล้ว เหมือนเป็นการมัดมือชกพ่อแม่ฝ่ายหญิงไปในตัว  ถ้าผู้ชายฉุดสำเร็จก็ได้สมหวัง แต่ถ้าไม่สำเร็จก็อาจจะโดนฆ่าได้
ทฤษฎีของมาร์กเมื่อเอามาใช้ในเรื่องฉากและชีวิต จะทำให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงของสังคมที่มีการแบ่งชนชั้นในตัวของมันเองและการเปลี่ยนแปลงที่ทำให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ตามมา ทำให้ตัวละครในเรื่องหลาย ๆ ตัวต้องมามีชะตากรรมที่แย่ลง เมื่อสังคมในท้องถิ่นตนโดนความเป็นกรุงเทพบุกรุกเข้ามามาขึ้น จนเปลี่ยนจากสังคมชนบทเริ่มเป็นสังคมเมืองในแบบของกรุงเทพ ความเป็นเมืองแบบกรุงเทพทำให้ชาวบ้านเจอแต่ปัญหา นับวันความสุขที่ชาวบ้านเคยมีก็ได้น้อยลงไปเรื่อย ๆ  ในเรื่องจะเห็นว่าเมื่อมีการเข้ามาของทุนนิยมคืออุสาหกรรมเริ่มเข้ามาเปิดในพื้นที่นี้ จากตอนแรกที่น้ำนั้นสามารถใช้เป็นการเดินทางหลักของชาวบ้านก็ต้องเปลี่ยนไปเพราะน้ำเน่าเหม็นจากการปล่อยน้ำเสียจากโรงงานอุสาหกรรม เริ่มมีถนนเข้ามาสู่ชุมชน ถนนนั้นก็มีแต่ฝุ่นคุ้งกระจายทำให้เป็นมลพิษทางอากาศ  เพราะถนนนี้จึงทำให้เลิกใช้เรือต้องมาใช้รถแทน คนที่เคยเป็นเรือจ้าง จากตอนแรกที่ตนเคยเป็นเจ้าของเรือ ถ้าใครไม่มีทุนพอที่จะซื้อรถก็ต้องมาเป็นลูกจ้างเขาในการขับรถบรรทุกแทนและรายได้ก็น้อยลงกว่าสมัยก่อน คนที่มีมอเตอร์ไซขับได้รับอุบัติเหตุและเสียชีวิตบทถนนเยอะมาก เรียกได้ว่าสังเวยชีวิตที่ถนนแทบทุกวัน  ต่างกับการใช้คมนาคมสมัยก่อนที่มีความปลอดภัยมากกว่านี้ เรือล้มสมัยก่อนก็ไม่ทำให้ตายทุกวันได้แบบสมัยใหม่ในเรื่อง
          คนในชุมชนนั้นต้องโดนการกดขี่แบบแบ่งแยกชนชั้นแบบใหม่ จากเมื่อก่อนเคยทำไร้ทำสวน หาเลี้ยงชีพไม่อดตาย เป็นเจ้าของสวนมีรายได้ แต่เมื่อทุนนิยมเข้ามาคนเหล่านี้ต้องไปทำงานที่โรงงานแทน เป็นลูกจ้าเขา ได้แค่ค่าแรงขั้นตำหาเลี้ยงชีพไปวัน ๆ ไม่สามารถมีเงินมากพอที่จะมาสร้างเนื้อสร้างตัวได้
          น้ำเสียงของผู้เล่าเรื่องเหมือนเป็นการโหยหาอดีตแต่ก็ไม่สามารถที่จะย้อนกลับไปได้ และตัวละครทุกตัวก็ดูเหมือนว่าอยากกลับไปอยู่แบบอดีตมากกว่า น้าน้อยจากที่เคยไปกรุงเทพแต่ก็อยู่ได้ไม่นานก็ต้องกลับมาอยู่ที่ถิ่นเดิม น้าพรก็เหมือนกันสุดท้ายก็กลับมาตายที่บ้าน น้านายท้ายจากตอนแรกที่ไปชอบแม่ค้าขายผลไม้ที่กรุงเทพ แต่แล้วก็อยู่ไม่ได้ต้องกลับมาอยู่กับน้าน้อยเหมือนเดิม ลุงหม่อมที่เมื่อก่อนเคยเป็นคนกรุงเทพ แต่ก็ได้อยู่ที่ถิ่นนี้มานานมากแล้ว เมื่อลูกสาวพาไปอยู่ที่กรุงเทพด้วยก็อยู่ไม่ได้ต้องกลับมาตายที่ถิ่นนี้อยู่ดี
          ทุกอย่างเปลี่ยนแปลงไปแต่สิ่งเดียวที่ไม่เปลี่ยนไปก็คือใจของน้าพรที่ยังคงปรารถนาในน้าน้อยอยู่เหมือนเดิม ทั้ง ๆ ที่เป็นความรักที่เป็นไปไม่ได้แต่น้าพรก็ไม่สามารถเลิกรักน้าน้อยได้ อันนี้แสดงเห็นความปรารถนาของมนุษย์ที่ไม่มีที่สิ้นสุด ต่อให้น้าน้อยจะมีสามีมีลูกมากแค่ไหน น้าพรก็ยังต้องการ ต่อให้น้าพรจะไปมีสาวอื่นกี่คน ๆ ก็เจอแต่คนไม่ดี ไม่มีใครที่น้าพรต้องการมากกว่าน้าน้อยอีกแล้ว
          สังคมแบบคนเมืองชอบมองว่าสังคมแบบชนบทเป็นสังคมที่มีปัญหาต้องการได้รับความพัฒนา แต่ในความเป็นจริงในเรื่องนี้ทำให้เห็นว่า ตัวสังคมเมืองเองเนี้ยแหละที่เป็นตัวปัญหาเสียเอง เพราะชีวิตก่อนหน้านี้มีความสุขดีอยู่แล้ว มีเพื่อนบ้านที่แบ่งปันเอื้ออาทรกัน แต่พอเป็นสังคมเมืองมีแต่คนเห็นแก่ตัว ต่างคิดแค่เรื่องเงินเรื่องกำไร โดยไม่มีความอาทรให้กันเหมือนในสมัยก่อน ยิ่งพัฒนามีแต่ยิ่งทำลาย ยิ่งทำให้ทุกอย่างแย่ลงไปเรื่อย ๆ
อ้างอิง

วัฒน์ วรรลยางกูร.ฉากและชีวิต.กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ไรท์เตอร์,2558