วันศุกร์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2561

วิเคราะห์ขั้นตอนของการวิจารณ์เรื่อง กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่นิราศแรมรสร้าง

นางสาวรติรัตน์ ปานฤทธิ์
วิเคราะห์ขั้นตอนของการวิจารณ์เรื่อง กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่นิราศแรมรสร้าง
          เริ่มแรกผู้วิจารณ์นั้นได้วิเคราะห์ความเหมาะสมของชื่อเรื่องก่อน   ซึ่งผู้วิจารณ์ได้บอกว่าชื่อกาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวานนั้นยังไม่ครอบคลุมเนื้อหาทั้งหมดของเรื่องนี้ เพราะกวีไม่ได้ตั้งใจจะแต่งแค่เรื่องของอาหารแต่กวีตั้งใจกล่าวถึงนางอันเป็นที่รักผ่านเรื่องราวทางอาหาร   ผู้วิจารณ์นั้นจึงเสนอชื่อใหม่ว่า กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่นิราศแรมรสร้าง   ซึ่งชื่อนี้จะเหมานแก่การครอบคลุมเนื้อหาในเรื่องนี้มากกว่า   ต่อมาได้มีการนำตัวบทที่มีผู้เขียนไว้ด้วยลายมือทั้ง 5 ฉบับ ของแต่ละสมัย นำมาเปรียบเทียบกันเพื่อให้ได้เนื้อหาที่สมบูรณ์ที่สุดในการวิจารณ์ต่อไป เมื่อได้เนื้อหาที่สมบูรณ์แล้วก็นำมาเปรียบเทียบกับฉบับพิมพ์  ซึ่งทั้งเนื้อหาฉบับเขียนและฉบับพิมพ์นั้นมีความแตกต่างกันอยู่ ซึ่งถ้าฉบับพิมพ์นั้นน่าจะดูฉบับเขียนเป็นต้นแบบจะเกิดเนื้อหาที่ชัดเจนกว่านี้
          มีการศึกษาการแต่งชื่อเรื่องของแต่ละตอน   ซึ่งพบว่าฉบับที่เขียนของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยนั้นไม่ได้มีชื่อของแต่ละตอนเหมือนฉบับพิมพ์ สันนิฐานได้ว่าฉบับพิมพ์นั้นมีการเพิ่มชื่อตอนขึ้นมาเอง   การตั้งซื้อตอนของแต่ละตอนทำให้เห็นเนื้อหาของกวีที่ซื่อได้ไม่ชัดเจน   อาจทำให้สิ่งที่กวีจะสื่อนั้นผิดเพี้ยนไปเพราะเกิดการเข้าใจผิดเพราะชื่อเรื่อง   จึงจะมองเห็นแค่เรื่องของอาหาร   เรื่องความสามารถของกวีที่กว่าชื่นชมอาหารแต่ละชนิดต่าง ๆ ซึ่งทำให้ผู้อ่านเข้าใจผิดว่าบทเห่ไม่มีเป็นเนื้อหาเดียวกันนั้น  เพราะบทที่1-3 นั้นกล่าวถึงเรื่องอาหาร และบทที่4-5 นั้นกว่าเรื่องวันนักขัตฤกษ์และแห่เจ้าเซ็น  ซึ่งจริงๆแล้วเนื้อหาทั้งหมดนั้นเชื่อมต่อกัน เพราะเป็นการกล่าวถึงนางอันเป็นที่รักของกวี
          มีการดูรูปแบบว่าเลือกประเภทได้เหมาะสมกับเนื้อหาหรือไม่   ซึ่งได้ข้อสรุปว่าประเภทกาพย์เห่นั้นมีความเหมาะสนมกับเนื้อหา มีการนำโคลงตั้งก่อนแล้วจึงตามมาด้วยกาพย์   ซึ่งคำโคลงที่ตั้งนั้นมีการนำคำนั้นมาแต่งให้ซ้ำกับกาพย์บางวรรคซึ่งทำให้เนื้อหานั้นดูมีความไพเราะมากขึ้น มีการเล่นสัมผัสสระ และสัมผัสอักษร มีการเล่นคำซ้ำ และยังมีการเล่นกลับคำเพื่อให้เกิดความไพเราะมากยิ่งขึ้น  มีการนำกาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวานไปเปรียบเทียบกับกาพย์เห่ของบทประพันธ์เล่มก่อน ๆ ที่เกิดขึ้นก่อนกาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน ซึ่งมีรูปแบบคล้ายกัน เพราะมีการพรรณนาถึงนางอันเป็นที่รัก บอกถึงความอาลัยอาวรณ์ที่ต้องพรากจากนาง  และความรู้สึกต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น   เพียงแต่ในเรื่องกาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวานนั้น กวีได้ใช้ชื่ออาหารในการกล่าวขึ้นก่อน แล้วจึงตามมาด้วยรสชาติของอาหารชนิดนั้น  ส่วนประกอบสำคัญในการปรุง  รูปลักษณ์ของอาหาร ของที่กินคู่กับอาหารชนิดนั้นแล้วจึงตามมาด้วยความคิดถึงนางที่ทรงรัก   ทำให้เห็นว่าผู้กวีนั้นมีการวางโครงเรื่องไว้อย่างดี   เริ่มจากความรู้สึกที่คิดถึง โหยหา และหนักที่สุด ก็ถึงตรงตอนสุดท้ายคือตอนแห่เจ้าเซ็น ที่คนในพิธีกรรมนั้นจะแสดงความรักต่อเจ้าเซ็นก็คือ การทุบอก เพื่อเป็นการระบายความรู้สึก   ซึ่งกวีสื่อออกมาที่เอามือลูบอุระ  เพราะกวีไม่มีแรงที่จะทุบอกได้แบบคนในพิธีกรรม  กวีจึงนำมือลูบอกแต่ก็ไม่ได้รู้สึกว่าความทุกข์นั้นเบาบางลงไปเลย กวีจึงตีความหมายได้ว่า  ความทุกข์ของตนนั้นหนักหนากว่าแห่เจ้าเซ็น
          รูปแบบการประพันธ์ เนื้อหา  และกลวิธีในการแต่งนั้นแสดงถึงความเป็นเอกภาพในการแต่งเห็นได้จากการใช้คำที่สื่อความหมายได้ตรงกับสิ่งที่กวีต้องการจะสื่อ   ทั้งมีการสื่อทางตรง และการสื่อโดยใช้คำแฝงในการประพันธ์ ในด้านเนื้อหานั้นยังแสดงความเปรียบให้เห็นได้ว่าความรักของกวีนั้นแปลเปลี่ยนไป   โดยแทรกไว้ในบทเห่เครื่องคาวและในบทเห่เครื่องหวาน   และยังกล่าวถึงความรักของกวีกับนางที่ทรงปิดซ่อนเร้นไว้ถึงสองปี จากตอนแรกที่มีความสุขกันดีที่ได้อยู่ใกล้กับนางก็เริ่มแปลเปลี่ยนไปเรื่อย ๆ  กวีเริ่มมีความทุกข์มากขึ้น ๆ  ตั้งแต่ที่นางเริ่มจากไป เห็นได้จาก วรรคที่พูดถึงความรักของวรรคนี้  ความรักยักเปลี่ยนท่า   ทำน้ำยาอย่างแกงขม ซึ่งทำให้เห็นความรักที่แปลเปลี่ยนไป จากความสุขกลายเป็นความทุก และยังมีการสอดแทรกเนื้อหาที่กวีแต่งให้เห็นว่า นางจากไปเพราะความจำเป็น และนางก็อาลัยอาวรณ์และทุกไม่ต่างจากกวีเช่นกัน เห็นได้จาก จากลอยแก้ว ที่นางนั้นส่งมาให้กวีแสดงถึงความทุกข์ของนางที่ต้องจากไปเพราะความจำเป็น
          เมื่อศึกษาเนื้อหาแต่ละบทอย่างละเอียดทำให้เห็นอารมณ์ของกวีย่างชัดเจน เช่น บทเห่ชมเครื่องคาว   ทำให้เห็นว่ากวีทรงคิดถึงนางและความผูกพันระหว่างกวีกับนาง กวีทรงคิดถึงรูปโฉมของนาง   ความสามารถของนางในการคิดสูตรอาหาร ปรุงอาหาร และจัดอาหารได้อย่างสวยงาม   คุณสมบัติของนาง ข้างของเครื่องใช้ของนาง   และรูปลักษณ์ของอาหารที่ทำให้กวีทรงคิดถึงห้องหอ และยังมีเนื้อหาที่แสดงความมีน้ำใจของนาง เห็นได้ว่า   นางยังแอบส่งของมาให้กวีอยู่เสอม ทั้งหมาก ทั้งบุหรี่ ที่ส่งให้กวีอยู่มิได้ขาด  ความประสานกลมกลืนกันระหว่างเนื้อหากับภาษานั้น   ทรงใช้ภาษาหลากหลายอันเป็นถ้อยคำที่สื่อความหมายของการพลัดพราก ความคิดถึงนางและความโศกเศร้าเพราะความพลัดพรากจากนาง   ทำให้เนื้อหากับภาษาที่ทรงใช้สอดคล้องกันได้ดียิ่งขึ้น
          ผู้วิจารณ์นั้นยังได้นำประวัติของกวีมาศึกษา ซึ่งทำให้เห็นว่าเรื่องที่กวีทรงนิพนธ์นั้นเป็นเรื่องจริง  เหตุเกิดเพราะ กวีนั้นทรงแอบรักกับสมเด็จพระเจ้าหลานเธอ เจ้าฟ้าบุญรอด ในขณะที่กวีนั้นทรงเป็นสมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร  เมื่อกวีถูกจับได้ ก็ทรงโดนทำโทษโดยการพาสมเด็จพระเจ้าหลานเธอ เจ้าฟ้าบุญรอด ไปประทับที่วังของกลมหลวงเทพหริรักษ์  ทั้งสองพระองค์ได้พลัดพรากจากกันทั้งหมดเป็นเวลา 3 เดือน สาเหตุที่ทรงนิพนธ์รูปแบบกาพย์เห่เพราะ   น่าจะทรงมีพระประสงค์ที่จะทรงเลียนแบบกาพย์เห่เรือของเจ้าฟ้าธรรมธิเบศรที่ทรงพระนิพนธ์เพื่อทรงระบายความรู้สึกส่วนพระองค์ คือ ความทุกข์และความโศกเศร้าที่อัดอั้นอยู่ในพระทัยด้วยความคิดถึงและความอาลัย  และยังมีการศึกษาลักษณะและประเภทของวรรณคดีนิราศ ทำให้เห็นได้ว่ากาพย์เห่เรื่องนี้ยังมีคุณสมบัติของการเป็นนิราศด้วย  ซึ่งผู้วิจารณ์ทำให้เห็นว่าการอ่านแบบนิราศนั้นทำให้เข้าใจเนื้อหามากยิ่งขึ้น จึงกล่าวได้เป็นเรื่องที่มีความเป็นนิราศอยู่ด้วย
           บทประพันธ์เรื่องนี้มีคุณค่าทั้งด้านวรรณคดีและวรรณศิลป์   รวมทั้งด้านสังคมและวัฒนธรรม คุณค่าด้านวรรณคดีก็คือ กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวานเป็นกาพย์เห่นิราศที่มีคุณค่ามากในวงการวรรณคดี และเป็นต้นแบบให้กับการแต่งกาพย์เห่บางบทในสมัยหลังต่อมา  คุณค่าด้านวรรณศิลป์มีทั้งด้านภาษา มีการใช้คำที่ไพเราะและมีการเพิ่มคำไพเราะด้านเสียง ด้านเนื้อหา และ กลวิธีในการแต่งก็คือ มีกลวิธีในการแต่งที่ล้ำเลิศสามารถนำเสนอเรื่องที่ต้องการได้อย่างน่าสนใจและน่ายกย่อง  ด้านสังคมทำให้เห็นคนหลายเชื้อชาติที่มีการเข้ามาในไทยในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ ซึ่งซื้อให้เห็นได้ทั้งการแต่งตัว และอาหาร ด้านวัฒนธรรมจะเห็นว่า คนไทยสมัยต้นรัตนโกสินทร์รับเอาวัฒนธรรมประเพณีของชาติต่าง ๆ เข้ามาปะปนในวัฒนธรรมและประเพณี
          ทำให้เห็นว่าผู้วิจารณ์นั้นมีความละเอียดมาก และมีความเป็นขั้นเป็นตอนในการวิจารณ์   คือ นำจากส่วนต้น ๆ  แล้วค่อยเข้าไปสู่กลางเรื่อง  ซึ่งเห็นได้จาก เริ่มแรกมีการวิจารณ์เรื่องชื่อเรื่องก่อน  แล้วจึงตามมาด้วยซื้อตอนของแต่ละตอน  รูปแบบคำประพันธ์  เนื้อหา กลวิธีในการแต่ง และยังตามด้วยคุณค่าทางด้านภาษา วรรณศิลป์  สังคมและวัฒนธรรม



อ้างอิง

ชลดา   เรืองรักษ์ลิขิต.กาพย์เห่ชมเครื่องคราวหวาน กาพย์เห่นิราศแรมรสร้าง.กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,2553