วันอาทิตย์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2561

วิเคราะห์เรื่อง เนรเทศ ของ ภู กระดาษ


วิเคราะห์เรื่อง เนรเทศ ของ ภู กระดาษ
เรื่องเนรเทศเป็นเรื่องของการเดินทางกลับบ้านที่ต่างจังหวัด แต่ว่าเสียเวลากับการรอรถอยู่เกือบทั้งวัน จนจบเรื่องก็ยังไม่ถึงบ้าน การคมนาคมที่มีความล่าช้าแบบนี้กลับกลายเป็นความเคยชินของสังคมไปแล้ว ซึ่งในความเป็นจริงนั้นเราไม่ควรที่จะชินชากับเรื่องแบบนี้ เพราะนี้มันคือการไม่ได้มาตรฐานในคุณภาพในการใช้ชีวิตที่ต้องมาเสียเวลาไปกับการคมนาคมทางบก ซึ่งไม่น่าจะเกิดขึ้นกับสังคมเมืองที่บอกว่าตนได้พัฒนาแล้ว ก็ไม่ต่างอะไรกับการเมืองไทยที่ไม่มีความเคลื่อนไหวใด ๆ เลย เหมือนเป็นสูตรสำเร็จไปแล้ว คือทำอะไรไปก็วนกลับมาที่เดิม การเกิดรัฐประหารก็เหมือนกัน ซึ่งเป็นสิ่งที่ประชาชนไม่ควรเพิกเฉยได้ เพราะว่ามันคือการเปลี่ยนแปลงอย่างหนึ่งของสังคม แต่ว่ากลับกลายเป็นความเคยชินของคนในสังคมไปเสียแล้วที่จะเกิดรัฐประหารบ่อย ๆ ในประเทศนี้
          ทฤษฎีหลังอาณานิคมทำให้เห็นอำนาจบางอย่างที่มีอยู่ในเรื่อง จะเห็นได้ว่ากรุงเทพคือศูนย์รวมของทุกสิ่ง กรุงเทพคือศูนย์กลางใหญ่ คนต่างจังหวัดต้องเดินทางมาทำงานที่กรุงเทพ โดยที่การคมนาคมก็ไม่ได้คุณภาพ ไม่ได้ความปลอดภัยในการดำเนินชีวิต ทั้งผู้คนที่แออัด และการที่ต้องใช้เวลานานในการรอรถ แถมไม่ได้คุณภาพตามที่ต้องเสียเงินไป การที่คนเหล่านี้ยังใช้บริการแบบเดิมอยู่เพราะว่าก็ไม่มีทางเลือกให้มากนักในการที่จะต้องเดินทางกลับบ้านที่ต่างจังหวัด
          เหตุที่ทำให้กรุงเทพเป็นศูนย์รวมใหญ่ของผู้คนนั้นเพราะว่า ประชาชนถูกปลูกฝังว่ากรุงเทพศูนย์กลางรวมแห่งความสะดวกสบาย อยู่ในเมืองกรุง มีงานทำและรายได้ดีกว่าทำงานที่ต่างจังหวัด แต่ความจริงแล้วกรุงเทพไม่ได้ดีขนาดนั้น ทั้งรถติด ฝุ่นเยอะ สภาพอากาศเป็นมลพิษ แต่คนก็เลือกที่จะมาเพราะการที่ได้เข้ามาทำงานที่กรุงเทพเป็นค่านิยมของตนต่างจังหวัดเหมือนเป็นการยกระดับไปในตัวเมื่อต้องเดินทางกลับไปที่บ้านต่างจังหวัดแต่ละครั้ง การที่คนต่างจังหวัดเข้ามาใช้ชีวิตในกรุงเทพทำให้ได้รับค่านิยมบางอย่างของความเป็นกรุงเทพติดตัวไปด้วย ทำให้เวลากลับบ้านต่างจังหวัดก็ทำให้เกิดการมองว่าทำไมที่นี้ถึงไม่เจริญ โดยเอาไปเปรียบกับกรุงเทพ เมื่ออยู่บ้านที่ต่างจังหวัดก็ไม่รู้สึกมีความสุขเหมือนสมัยก่อนที่จะไปอยู่กรุงเทพ แต่เมื่อไปอยู่กรุงเทพก็กลับเป็นคนไม่เหมือนกรุงเทพอีก กลายเป็นว่าเป็นคนที่รู้สึกแปลกแยกกับสิ่งต่าง ๆ ที่เคยเป็นของตนเอง  ทำให้เกิดความรู้สึกไปไม่สุดและก็กลับไม่ได้
          หลังอาณานิคมมันพยายามที่จะสร้างอัตลักษณ์ให้กับสิ่งอื่น ๆ เช่นการที่คนกรุงเทพมองว่าคนอีสานโง่ อันนี้ก็เป็นทำให้เกิดภาพจำบางอย่างจากสิ่งรอบ ๆ ตัว เช่นในหนังที่มักจะมีคนใช้เป็นคนอีสาน มันคือการสร้างภาพแทนซ้ำ ๆ ทำให้คนจำ แต่ในความเป็นจริงแล้วคนอีสานก็ไม่ได้โง่เหมือนที่คนกรุงเทพนิยามให้เสมอไป และยังมีการสร้างอัตลักษณ์ให้กับกลุ่มรักร่วมเพศ ที่มีสังคมกำหนดอัตลักษณ์ให้คนกลุ่มนี้ว่าเป็นคนตลก แต่ว่าแทนที่จะเกิดการเรียกร้องสิทธิ์ของตนเอง กลับกลายเป็นว่าคนเหล่านี้กับให้การยอมรับกับคำนิยามเหล่านี้แทน คนอีสานเมื่อเขามาในกรุงเทพนาน ๆ จะทำให้สำเนียงในการพูดภาษาถิ่นของตนเองเปลี่ยนไป คือมีความเป็นอื่น ไม่เป็นลาว และก็ไม่เป็นภาษากลาง
หลังอาณานิคมเท่ากับว่าได้มีการล่าอาณาจักรสำเร็จแล้ว ถึงจะจบการล่าไปแล้วแต่ก็มีบางอย่างปลูกฝังให้เห็นว่าอำนาจของผู้ล่ายังอยู่ หลังการปกครองของพวกล่าอาณานิคมมันได้สร้างความคิด ความรู้บางอย่างให้กับคนในอาณานิคม มันจึงเป็นการสร้างอัตลักษณ์
          ในโลกตะวันตกจักรวัติเป็นการขยายดินแดน จักรวัตินิยมคือได้มาโดยจากการล่าดินแดนที่อยู่ห่างไกล เช่นสงครามโลก เจ้าอาณานิคมที่ใหญ่ที่สุดคืออังกฤษ ในศตวรรษที่ 18  การรู้แจ้งเป็นการเกิดขึ้นหลังยุคมืด ยุคมืดคือยุคที่มืดบอดจากความรู้ เต็มไปด้วยความเข้าใจว่าพระเจ้าเป็นใหญ่ แต่ยุครู้แจ้งได้ไปอธิบายโลกด้วยแนวคิดทางวิทยาศาสตร์ วิทยาศาสตร์ได้ไปลดทอนอำนาจของศาสนาลงไป เพราะวิทยาศาสตร์นั้นเป็นยุคที่มีเหตุมีผลทุกอย่างสามารถพิสูจน์ได้
          หลังอาณานิคมเรานิยามว่า มันเกิดการย้อนแย้งของการพัฒนาอะไรก็ตามที่ส่งผลต่อวัฒนธรรมของคนในท้องถิ่น มันเกี่ยวกับการสร้างอัตลักษณ์ใหม่ ต้องดูว่าเจ้าของอาณานิคมนั้นคือใคร การล่าอาณานิคมนั้นไม่เพียงแต่จะครอบครองแค่ดินแดน แต่มันยังรวมไปถึงการครอบครองภายในจิตใจด้วย
          ในหนังสือเล่มนี้พยายามจะต่อต้านอำนาจแบบอาณานิคมของกรุงเทพ ดูได้จากการใช้ ค.ศ. ในการเล่าเรื่อง เพราะในสังคมไทยนั้นใช้ พ.ศ. และดูจากภาษาที่ผู้เขียนใช้มันมีการใช้ภาษาแบบกลาง ๆ ลาวไม่สุด และ ก็ไม่เหมือนกลาง มันเป็นการตอบโต้แต่ในขณะเดียวกันมันก็เกิดความย้อนแย้งในตัวของมันเอง และยังมีการต่อต้านการตั้งกรุงเทพเป็นศูนย์กลาง ตัวละครนั้นได้บอกว่าตนคือคนลาว ไม่ใช้คำว่าอีสานในแบบที่คนกรุงเทพใช้ เพราะคำว่าอีสานนั้นเป็นการตั้งขึ้นเพราะวัดจากกรุงเทพเป็นศูนย์กลางในการนิยาม ซึ่งคำว่าอีสานนั้นมันทำให้เกิดความเป็นอื่นมากกว่าเป็นการยอมรับการมีอยู่ของคนในภาคนี้ ทำให้คนในภูมิภาคนี้มีนความเป็นชายขอบ คือไม่มีพื้นที่ในสังคม กรุงเทพมันพยายามที่จะเข้าไปจัดการพื้นที่ต่าง ๆ ของพื้นที่ในต่างจังหวัด และกรุงเทพได้สร้างอัตลักษณ์ของตนเองโดยมองคนต่างจังหวัดว่าเป็นคนที่บ้านป่าเมืองเถื่อนแต่ว่าเชื่อง