วันเสาร์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2562

ตีความ ชื่อบทกวี “นิยายยาง” ในกวีนิพนธ์แห่งชีวิต “ใบไม้ที่หายไป” โดย จิระนันท์ พิตรปรีชา




บทกวีบทนี้เป็นการเล่าเรื่องของต้นยางที่อยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีแต่ความแห้งแล้ง แต่กลับสามารถที่จะหยั่งรากลงดินและสามารถเติบโตขึ้นมาในสภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้ออำนวยต่อการเจริญเติบโตของพืชในประเภทอื่นได้  ต้นยางสามารถที่จะเติบโตเป็นต้นยางให้คนสามารถกรีดเอาไปเลี้ยงชีพได้  และในช่วงท้ายได้มีการพูดถึงเรื่องแม่ผู้เสียสละและมีพระคุณกับลูกซึ่งเป็นบุญคุณที่หาที่สุดไม่ได้

ซึ่งในจุดนี้จากบทกวีบทนี้ทำให้ฉันรู้สึกว่า  ต้นยางก็มิได้ต่างอะไรกับแม่ ถึงแม้จะลำบากแต่ก็ยังหยั่งรากลงดิน เป็นฐานยึดหลักเพื่อให้ลูกเติบโตได้ น้ำยางก็เหมือนกับนมที่สามารถนำมาเลี้ยงคนเราให้เจริญเติบโตได้  

ถึงแม้ว่าต้องแลกกับการโดนกรีด โดยมีดกรีดเป็นแผลอยู่ที่เดิมซ้ำแล้วซ้ำเล่าก็ตาม  ทุกอย่างก็คือการเสียสละ อันเป็นพระคุณอย่างยิ่งที่ทำให้เห็นถึงคุณค่า และความอดทนในการเลี้ยงดู ถึงแม้สิ่งที่เจอในชีวิตจะลำบากก็ตาม 

ซึ่งหากมองบนรอยของต้นยางก็เหมือนเป็นการสะท้อนให้เห็นว่า บาดแผลบนนั้นเป็นรอยที่ทำให้เห็นว่าทั้งความรัก บุญคุณและความอดทนของแม่ที่เลี้ยงดูเรามาจนเติบใหญ่อย่างทุกวันนี้ไม่ใช่เรื่องง่าย