วันอังคารที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

วิเคราะห์เรื่อง กรรมเก่า ของ ดอกไม้สด (หม่อมหลวงบุบผา นิมมานเหมินท์)


วิเคราะห์เรื่อง  กรรมเก่า  ของ  ดอกไม้สด  (หม่อมหลวงบุบผา  นิมมานเหมินท์)

ผู้เล่า
          ผู้เล่านั้นเป็นผู้เล่าแบบไม่ใช้ตัวละครในเรื่อง  เป็นผู้เล่าแบบเสมือนมีตัวตน  ดังตัวอย่างเช่น สุภาพบุรุษผู้หนึ่งเดินเข้าประตูบ้านเศกสมผู้เล่านั้นต้องการจะเล่าเรื่องราวของหญิงสาวคนหนึ่ง  ซึ่งมีชื่อว่านุช  นุชนั้นเรียนที่ลอนดอนตั้งแต่ตอนเด็ก ๆ นุชคิดมาโดยตลอดว่า คุณหญิงสวงนั้นเป็นแม่และเจ้าคุณรัตนวาที เป็นพ่อของตนเอง  และมีพี่สาวชื่อว่าอัมพร  อยู่มาวันหนึ่งมีจดหมายมาหาคุณหญิงให้เดินทางไปบ้านสวน  ที่จังหวัดนครศรีธรรมราช  คุณหญิงบอกกับนุชว่าจะพาไปเยี่ยมญาติ  นุชรู้ความจริงจากอัมพรว่าผู้ป่วยนั้นคือพ่อแท้ ๆ ของตน ส่วนแม่นั้นได้เสียไปตั้งแต่นุชยังเด็ก ๆ นุชรู้สึกสิ้นหวังมากที่พ่อของเธอนั้นเคยติดคุกมาก่อน  เมื่อนุชฟังอัมพรเล่าเหตุการณ์ทั้งหมดเกี่ยวกับพ่อแล้ว  นุชจึงยอมอยู่ดูแลพ่อต่อที่บ้านสวนโดยไม่กลับไปอยู่กับครอบครัวเก่าตามเดิมถึงแม้การอยู่กับพ่อจะไม่มีความสุขก็ตาม
          ผู้เล่านั้นใช้ภาษาที่สุภาพไพเราะ มีการเล่าเรื่องที่เรียบ ๆ เรื่อย ๆ มีการพรรณนาที่สื่อให้เห็นอารมณ์ของตัวละครอย่างชัดเจน  ให้ความรู้สึกเหมือนได้เข้าไปอยู่ในเรื่องนั้นด้วย  ทำให้ผู้อ่านนั้นมีอารมณ์ร่วมด้วยให้เหตุการณ์ต่าง ๆ เช่น  ตอนที่อัมพรจะบอกเรื่องพ่อและแม่ให้นุชฟัง  อัมพรประสานมือวางไว้บนตัก  หลับตานิ่งอยู่ครู่หนึ่งแล้วจึงพูดขึ้นด้วยถ้อยคำอันชัดเจน  แต่ทว่าน้ำเสียงสั่นระรัว

โครงเรื่องหลัก
          นุชหญิงสาวที่เรียนจากลอนดอนกลับมาอยู่ในกรุงเทพฯ ที่บ้านเศกสม ซึ้งเป็นบ้านของคุณหญิงสวงและเจ้าคุณรัตนวาที  นุชมีพี่สาวชื่อว่า อัมพร วันหนึ่งมีจดหมายมาหาคุณหญิงสวง  จดหมายฉบับนี้ทำให้ชีวิตนุชเปลี่ยนไป  จากตอนแรกชีวิตนุชนั้นมีแต่ความสวยหรู  มีความสะดวกสบาย  จดหมายฉบับนั้นทำให้  นุช อัมพร และ คุณหญิงสวง  ต้องเดินทางไปที่บ้านหลังสวน  ซึ่งอยู่ในจังหวัดนครศรีธรรมราช  เพื่อไปเยี่ยมชายคนหนึ่งซึ่งกำลังป่วย  คุณหญิงบอกกับนุชว่าเป็นญาติ  บ้านหลังนั้นไม่ใหญ่โตและหรูหราแบบบ้านที่นุชเคยอยู่  มองไปทางนอกหน้าต่างก็เจอแต่ต้นไม้เหมือนอยู่ในป่า นุชเริ่มสนิทกับเฉลาและฉลวย ซึ่งเป็นลูกของน้องหลวงบำรุงประชาราษฎร์ นุชจึงถามเรื่องของชายคนนั้น ซึ่งนุชเรียกว่าคุณลุง เฉลากับฉลวยก็รู้เรื่องของคุณลุงไม่มาก เพราะคุณลุงพึ่งมาอยู่ที่นี้ได้ไม่นาน ฉลวยเล่าเรื่องที่ได้ยินผู้ใหญ่คุยกันว่า  คุณลุงพึ่งออกจากคุกมาได้ไม่นาน  นุชรู้สึกตกใจและคิดว่าโชคดีที่คุณพ่อและคุณแม่ไม่ได้เป็นญาติร่วมกันทางสายเลือด  เพราะคุณหญิงสวงไม่เคยพูดถึงเรื่องนี้ให้เธอฟังมาก่อน นุชคิดว่าอย่างมากคุณลุงก็คงจะเป็นแค่ลูกพี่ลูกน้อง        

อยู่มาวันหนึ่งเมื่อถึงกำหนดการณ์ที่คุณหญิงต้องเดินทางกลับไปอยู่ที่กรุงเทพฯ เพื่อทำงานต่อ นุชนั้นจะเดินทางกลับพร้อมคุณหญิง  แต่อัมพรกลับขอให้นุชนั้นช่วยอยู่ดูแลชายคนนั้นต่อ  แต่นุชไม่ยอมนุชยืนยันที่จะกลับและอัมพรต้องกลับไปพร้อมนุชด้วย  อัมพรจึงบอกความจริงให้แกนุชฟังว่าชายคนนั้นคือพ่อของนุชและเล้าเรื่องทั้งหมดให้นุชฟัง จากตอนแรกนุชเกลียดที่พ่อตัวเองติดคุก  แต่พอได้รู้เรื่องว่าพ่อของตนนั้นไม่ใช้คนเลวอย่างที่ตัวเองคิด  พ่อกลับเป็นห่วงลูกๆมากกว่าตนเอง  พ่อฝากนุชและอัมพรไว้กับเพื่อนพ่อซึ่งก็คือ           เจ้าคุณรัตนวาที  โดยให้ดูแลและเลี้ยงดูลูกของตนนั้นให้ดีที่สุด เหมือนลูกของตัวเอง โดยแลกกับการยกสรรพสมบัติทั้งหมดให้  แต่เจ้าคุณรัตนวาทีกลับไม่รับสรรพสมบัติแต่กลับแลกกับค่าเลี้ยงดูลูกทั้งสองแค่ความจำเป็นเท่านั้น  เพราะเห็นแก่ความเป็นเพื่อน  นุชจึงรู้ว่าที่คุณหญิงดีกับเธอนั้นเพราะว่าทำตามแค่หน้าที่  นุชจึงกตัญญูต่อบิดา  ถึงแม้นุชจะไม่มีความสุขกับการอยู่ที่นี้เท่าไหร่ก็ตาม

โครงเรื่องรอง
          นุชเคยมีความรักกับหลวงไพรัชช์และสุนทร  ซึ่งสองคนนี้เคยบอกกับนุชว่าจะมาขอนุช แต่แล้วเขาสองคนก็หายไปโดยไม่ติดต่อกลับมาอีกเลย  น้าพงศ์เป็นน้องชายของคุณหญิงสวง  น้าพงศ์นั้นสนิทกับนุชตั้งแต่ตอนนุชยังเป็นเด็กแล้ว  น้าพงศ์ได้พูดปลอยใจนุชว่าต่อไปอย่าไปรักใครง่าย ๆ อีก  น้าพงศ์นั้นเริ่มชอบนุชตั้งแต่ที่รู้ว่านุชไม่ใช่หลานสาวแท้ ๆ ของตนแล้ว  เพียงแต่ไม่กล้าบอกเพราะนุชยังไม่รู้ความจริงเรื่องนี้  เมื่อนุชรู้ความจริงแล้ว นุชส่งเขียนจดหมายไปหาน้าพงศ์เพื่อเป็นการบอกลา นุชคิดว่าทุกคนที่เคยชอบตนนั้นหายไปจากเธอ  เพราะว่ารู้ความจริงว่าพ่อของเธอติดคุกจึงรังเกลียดเธอแล้วพากันหายไป  แต่แล้วเมื่อน้าพงศ์ได้อ่านจดหมายกลับเดินทางมาที่บ้านของนุชไปกราบพ่อของนุชโดยไม่ได้รังเกลียดและได้ขอนุชแต่งงาน
การเปิดเรื่อง :    เปิดเรื่องโดยการบรรยายเหตุการณ์ที่ตัวละครมาถึงที่บ้านเศกสม และบรรยายสิ่งที่ตัวละครเห็นที่บ้านเศกสม
การผูกปม :      คุณหญิงได้รับจดหมายฉบับหนึ่งต้องเดินทางไปที่บ้านหลังสวน จังหวัด นครศรีธรรมราช
จุดสุดยอด :      จากตอนแรกนุชที่อยู่บ้านในตระกูลที่มีซื่อเสียงและฐานะดี มารู้ความจริงว่าครอบครัวที่อยู่ด้วยกันมาตั้งแต่เด็ก ๆ ไม่ใช่ครอบครัวที่แท้จริงของตนเอง  แต่ครอบครัวของตนนั้นพ่อติดคุก ส่วนแม่ก็ได้เสียไปนานแล้ว
การคลายปม:    อัมพรเล่าเรื่องของพ่อและแม่ทั้งหมดให้นุชฟัง  และเล่าถึงความจำเป็นที่คุณหญิงนั้นเลี้ยงดูเธอสองคนมาก็เพราะตามสัญญา
          การปิดเรื่อง :     ปิดเรื่องแบบธรรมดาโดยการนุชเข้าใจพ่อ และ นุชได้แต่งงานกับน้าพงศ์ชายอันเป็นที่รัก
ฉาก
1. จะเป็นฉากบ้านเศกสม ยกตัวอย่างเช่น สุภาพบุรุษหนุ่มผู้หนึ่งเดินเข้าประตูบ้าน เศกสม มาหยุดยืนที่หน้าตึกใหญ่  ส่ายตามองดูรถยนต์สีดำและสีเทา  รวม 2 คันที่จอดอยู่เบื้องหน้า
๒. จะเป็นบ้านหลังสวนที่จังหวัดนครศรีธรรมราช ยกตัวอย่างเช่น เห็นหลังคาเรือนดำตะคุ่มอยู่ในหมู่ไม้  จะแลเห็นทางไหนก็ดูมืดทึบไปหมด  ประดุจเดินทางอยู่กลางดง

ตัวละครหลัก
          นุช
          นิสัยของของนุชเป็นคนตรงไปตรงมา รู้สึกยังไงก็พูดออกมาตรง ๆ  เป็นคนสนุกสนาน  ปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ได้ดี ชั่งพูดชั่งคุย  เป็นมิตรกับทุกคน  และร่าเริงอยู่ตลอดเวลา ยกตัวอย่างเข่นตอนเจอน้าพงศ์ที่ไม่ได้เจอกันมานานหลังจากที่นุชกลับจากลอนดอน “Aullo ! Uncle พงศ์!” ครั้นแล้วรวดเร็วราวกับสายฟ้าแลบ  เจ้าหล่อนผู้เป็นเจ้าของเสียงได้วิ่งมาถึงตัวชายหนุ่ม โถมเข้ากอดคอไว้แน่น
         
อัมพร
          นิสัยของอัมพรนั้นคาดเดายาก  ชอบแสดงออกในท่าทีที่นิ่งเฉย ทำทุกอย่างเพียงแค่หน้าที่  ปิดบังความรู้สึกของตัวเอง มักจะเก็บตัว  ไม่ชอบเข้าสังคมและไม่ค่อยชอบคุณหญิงสวง ดูได้จากการแสงดท่าทางการบรรยายนี้  อัมพรละจากที่  เดินหลีกคุณหญิงไปที่หน้าต่างด้วยกิริยาอันอ่อนน้อม  มีการลู่ไหล่และก้มตัว  ซึ่งเป็นกิริยาอันหาความจำเป็นมิได้  สำหรับที่จะใช้ระหว่างมารดากับบุตรีที่เติบโตขึ้นในประเทศยุโรป เมื่อได้จ้องดูหนุ่มสาวทั้งคู่หนึ่งแล้ว  แววตาอันเคยเซื่องซึมอยู่เป็นนิจ  ก็ได้เกิดประกายแห่งความแค้นเคืองหล่อนเม้มริมฝีปากแน่นหันหน้ามาทางคุณหญิงคล้ายจะกล่าวถ้อยคำรุนแรง  แต่ครั้นเมื่อตาต่อตาสบกัน  สีหน้าของหญิงสาวก็เผือดลง พร้อมกับกดสายตาลงในระดับต่ำทันที

         



คุณหญิงสวง
          นิสัยของคุณหญิงสวงนั้นเป็นคนที่วางมาตรอยู่ตลอดเวลา ไม่พูดทุกสิ่งที่พูด  พูดแค่ความจำเป็นเท่านั้น ไม่สามารถความเดาอารมณ์และความรู้สึกได้ รักษาภาพพจน์ของตนเองอยู่ตลอดเวลา เป็นคนหยิ่งทะนงตนสูงดูได้จากเหตุการณ์นี้  ครั้นถึงเวลานี้ เวลาที่ได้ฟังจากปากอัมพรว่า  นุชได้ทราบความจริงตลอดเรื่องแล้ว  ความรู้สึกแปลกประหลาดอย่างไม่เคยรู้สึกมาแต่ก่อนก็เกิดขึ้นแก่คุณหญิง  แรกทีเดียวท่านรู้สึกใจหาย  คล้ายกับมีผู้มาชิงของรักที่ใช้ชิดอยู่เป็นนิจไปเสยจากตัวให้เกิดความเสียดายน้อยใจและขัดเคือง ความคิดของคุณหญิงวนเวียนอยู่ในความรู้สึกเหล่านี้เป็นเวลานานแล้วก็เกิดความมานะหักห้ามความเสียดาย  เป็นความมานะของบุคคลผู้มีอุปนิสัยงอนและถือตัว  เกินที่จะอาลัยในบุคคลที่ตนสงสัยว่าหมดอาลัยในตน ตัวเราเปรียบเหมือนลูกจ้างรับจ้างเลี้ยงเด็กไว้ เมื่อโตขึ้นแล้วเขาจะสมัครไปทางพ่อที่ได้ให้ความเกิดแต่อย่างเดียว  หรือ จะสมัครมาทางเราที่ให้ได้ทุกอย่าง  นอกจากความเกิดก็ตามใจเขา  เราหาไม่ทุกข์ร้อนไม่ นี้คือความรำพึงของคุณหญิง 
น้าพงศ์
          นิสัยของน้าพงศ์นั้น  เป็นผู้ชายที่มีความเป็นสุภาพบุรุษ อ่อนโยน อบอุ่น โอบอ้อมอารี และรักมั่นคงโดยไม่สนใจต่อสายตาคนอื่นว่าจะมองเขายังไง  อย่างเช่นบทสนทนานี้ น้าไม่เอาใจใส่กับใครทั้งนั้น  ข้อสำคัญอยู่ที่ตัวนุชคนเดียว  

 ตัวละครรองในเนื้อเรื่องมีปรากฏขึ้นเพียงนิดเดียว หรือมีบางตอนอาจจะกล่าวถึง
          นายอาจ (พ่อของนุชและอัมพร)
          นางพิศ (แม่ชองนุชและอัมพร)
          หลวงบำรุงประชาราษฎร์  (ผู้ดูแลนายอาจ)
          หลวงประกอบธุรการ (ลูกของหลวงบำรุงประชาราษฎร์)
          เฉลา และ ฉลวย (เป็นลูกของน้องหลวงบำรุงประชาราษฎร์)
          ฉลอง และ ชะลอ (เป็นลูกของหลวงประกอบธุรการ)
          เจ้าคุณรัตนวาที (สามีคุณหญิงสวง)
          แม่ชม (คนดูแลนายอาจ)
          นางแย้ม (คนเลี้ยงดูนุชและอัมพรก่อนที่เด็กทั้งสองจะไปอยู่กับคุณหญิง)
บทสนทนา
          บทสนทนาส่วนใหญ่จะเป็นบทสนทนาต้องอยู่ในเครื่องหมายคำพูดและมีคำอธิบายประกอบสนทนาตามสมควร เช่น ตอนที่พงศ์สารภาพรักกับนุช  (หน้า108 )
          “ฟังให้ดีนะ  ความรักระหว่างเราทั้งสองเวลานี้กับแต่ก่อนต่างกันนุชคงรักน้าอย่างที่เคยรักน้าพงศ์  แต่น้ารักนุชเป็นอย่างอื่นเข้าใจไหม ? ”
          สีหน้านุชแดงเรือขึ้น  คิ้วทั้งสองข้างขมวดเข้าหากันหล่อนเริ่มเข้าใจได้ราง ๆ แต่ยังคงมองดูเขาอย่างสงสัย  พงศ์เห็นดังนั้นก็เขยิบเข้าใกล้หล่อนอีก  จนแขนต่อแขนชิดกัน  และ ริมฝีปากของเขาแนบหูหล่อน  ด้วยน้ำเสียงแสดงความตื่นเต้น  และ ร้อนใจ เขากระซิบต่อไปว่า
          ยังไม่เข้าใจอีกหรือนี่  จะต้องให้พูดตรง ๆ แต่ก่อนน้าเคยรักนุชเหมือนหลานของน้าแท้ ๆ  เดี๋ยวนี้นุชไม่ใช่หลานของน้า  แต่น้ากลับรักนุชมากกว่าเดิมเป็นหลายเท่า  นุชจะแต่งงานกับน้าได้ไหม ? ”

แก่นเรื่อง
          แก่นของเรื่องนี้ทำให้รู้ว่า  ถึงแม้พ่อแม่ของเราอาจจะไม่ได้เป็นผู้เลี้ยงเรามาตั้งแต่เด็ก ๆ ด้วยเหตุผลอะไรก็ตาม  เราก็ควรที่จะตอบแทนบุญคุณและมีความกตัญญูต่อท่านที่ทำให้เราเกิดมา