วันอังคารที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

ปากไก่และใบเรือ (สรุปบทที่1)

ปากไก่และใบเรือ (สรุปบทที่1)
ยุคต้นรัตนโกสินทร์ (พ.ศ. ๒๓๑0-๒๓๙๘)  มักจะถูกจัดให้อยู่ในยุคสยามเก่า ความหมายของยุคสยามเก่าจะไม่กระจ่างนัก  แต่มักจะเป็นแนวคิดที่ใช้สำหรับอธิบายความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในประเทศไทยอันมีพระมหากษัตริย์อันเป็นผู้นำในต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๕ สยามเก่า คือสภาพที่อยู่ตรงข้ามกับสยามใหม่   สยามเก่าทำให้เรามองไม่เห็นความเปลี่ยนแปลงทั้งหลายซึ่งเกิดขึ้นในประวัติศาสตร์ไทยเป็นเวลาหลายศตวรรษนับตั้งแต่สมัยลพบุรีมาจนถึงรัชกาลที่ 5 เวลาอันยาวนานซึ่งครอบงำวิวัฒนาการอันน่าตื่นเต้นของสังคมไทยนี้ไม่สามารถถูกจับให้หยุดนิ่งอยู่ในคำว่าสยามเก่าได้ง่าย ๆ  เช่นนั้น  ในด่านที่สอง การเน้นความแตกต่างระหว่างสยามเก่าและสยามใหม่ไม่ช่วยให้เข้าใจความเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากการปฏิรูปของกษัตริย์ได้อย่างแท้จริง
คุณค่าของวรรณกรรมต่อการศึกษาประวัติศาสตร์ความคิดต้นรัตนโกสินทร์
วรรณกรรมและสังคมที่ผลิตวรรณกรรมขึ้นนั้นย่อมมีปฏิสัมพันธ์กัน   เพื่อพิจารณาในแง่นี้   การใช้หลักฐานทางวรรณกรรมเพื่อศึกษาประวัติศาสตร์ความคิด   จึงมิได้มีความหมายจำกัดแต่เพียงเรื่องของปัญญาชนไม่กี่คนที่เป็นผู้ผลิตวรรณกรรมขึ้น   หากหมายรวมถึงความเคลื่อนไหวทางความคิด   ซึ่งรวมเอาทั้งปัญญาชนและผู้อ่านวรรณกรรมจำนวนหนึ่งไว้ด้วยกัน  คิดและตอบสนองความคิดของกันและกัน   ตลอดจนตอบสนองต่อสภาพสังคมที่แวดล้อมทั้งสองฝ่ายด้วย
นอกจากปัญหาด้านตัวต้นฉบับวรรณกรรมแล้ว   วรรณกรรมไทยซึ่งเป็นตัวเขียนด้วยลายลักษณ์อักษรเป็นสมบัติของชนชั้นนำ   ซึ่งเป็นคนส่วนน้อยของสังคม   ในหลายกรณีวรรณกรรมที่ชนชั้นนำเหล่านี้สร้างขึ้นไม่ได้ถูกประชาชนทำไปใช้เลยก็มีเช่น คำฉันท์ดุษฎีสังเวยกล่อมช้าง หรือ โครงเฉลิมพระเกียรติต่าง ๆ
อิทธิพลทางวัฒนธรรมต่างชาติที่ปรากฏอย่างมากในหมู่ชนชั้นปกครองของไทย   ที่ให้วัฒนธรรมของชนชั้นปกครองและประชาชนมีความแตกต่างกันมาก   วัฒนธรรมของมูลนายซึ่งมีการศึกษาค้ำจุนอยู่จึงผูกพันอยู่กับตำราที่เขียนไว้เป็นลายลักษณ์อักษร   ส่วนใหญ่ของตำราเหล่านี้อยู่ในภาษาต่างประเทศ เช่น บาลีหรือเขมร   ในทางตรงกันข้ามวัฒนธรรมของไพร่ผูกพันอยู่กับนิทาน   นิยาย   ตำนาน   ซึ่งเล่าสืบกันมาโดยไม่มีการจดไว้เป็นลายลักษณ์อักษร   ศาสนาของประชาชนที่เป็นไพร่  คือ คำเทศนาของพระภิกษุ และความเชื่อ   ซึ่งปลูกฝังผ่านกันมาหลายชั่วคน   วิถีที่แตกต่างกันระหว่างไพร่กับมูลนาย หรือชนชั้นปกครอง   ทำให้หน้าที่และบทบาทของวรรณกรรมที่คนทั้งสองวัฒนธรรมสร้างขึ้นมีความแตกต่างกันด้วย
สภาพแวดล้อมที่เกิดวรรณกรรม
วรรณกรรมมูลนายเป็นวรรณกรรมที่เกิดในเมือง   ส่วนใหญ่ของวรรณกรรมอยุธยาที่มีฉบับเหลือตกทอดมาถึงปัจจุบันมักเกิดในเมืองหลวงทั้งสิ้น   วรรณกรรมอยุธยาที่เป็นของชนชั้นมูลนายจึงแวดล้อมอยู่ด้วยเรื่องของกษัตริย์   หรือ เทพเจ้าที่สัมพันธ์ทางใดทางหนึ่งกับกษัตริย์ หรือพิธีกรรมที่เกี่ยวข้องกับบรมเดชานุภาพของกษัตริย์
วรรณกรรมของประชาชนหรือของไพร่   เป็นวรรณกรรมที่เกิดในชนบท   เกี่ยวพันอย่างใกล้ชิดกับวิถีชีวิตคนในชนบทแม้จะมีการกล่าวถึงกษัตริย์ในบางกรณี   ก็สร่างภายของกษัตริย์เหมือนคนธรรมดา   โดยส่วนใหญ่แล้วจะไม่เกี่ยวข้องกับกษัตริย์   เป็นเรื่องของการงานในชีวิตจริงของคน   การเกี้ยวพาราสี   การตลกคะนองจนถึงขั้นหยาบโลน   โดยมากมักแสดงออกด้วยการสมมติให้เกิดการโต้ตอบกันระหว่างกุล่มหญิงชาย
ฉันทลักษณ์
วรรณกรรมของชนชั้นมูลนายพัฒนารูปแบบทางฉันทลักษณ์ที่ซับซ้อนและหลากชนิดขึ้นตามลำดับ   อาจเป็นไปได้ว่ารูปแบบทางฉันทลักษณ์จำนวนหนึ่งที่วรรณกรรมราชสำนักนิยมใช้ในระยะแรกมีกำเนิดในภาษาไทย เช่น โคลงต่างชนิดและร่าย เป็นต้น  จะเห็นได้ว่า ลักษณะฉันทลักษณ์เหล่านี้ไม่ได้ถูกวรรณกรรมประชาชนของไพร่นำไปใช้เลย   แบบอย่างฉันทลักษณ์ของบาลีถูกถ่ายแบบมาใช้ในวรรณกรรมชนชั้นสูงอยุธยานั้นตั้งแต่สมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ   กลอนนี้มีเหตุผลชวนให้เข้าใจว่าเป็นสิ่งที่แพร่หลายในวรรณกรรมของประชาชนอยู่ก่อน และ ราชสำนักเพิ่งรับไปใช้ในภายหลัง    นับว่าเป็นครั้งแรกที่ชนชั้นสูงรับรูปแบบ   ฉันทลักษณ์ของไพร่ไปใช้ในวรรณกรรมของตน
แบบอย่างฉันทลักษณ์ที่นิยมใช้ในวรรณกรรมของประชาชนนั้นไม่มีชื่อเรียกเฉพาะตามรูปแบบคำประพันธ์แต่ละชนิดแต่มักเรียกรวม ๆ กันว่าเพลง  คำประพันธ์ที่เรียกว่าเพลงแต่ละอย่างมัดจะมีความนิยมอยู่เฉพาะถิ่น  จะเห็นได้ว่าลักษณะการแพร่หลายของฉันทลักษณ์ของวรรณกรรมประชาชนค่อนข้างจำกัดในขณะที่ฉันทลักษณ์ของชนชั้นสูงแพร่หลายไปได้กว้างไกล
หน้าที่
วรรณกรรมราชสำนักของอยุธยาที่เหลือตกทอดมาถึงปัจจุบันโดยส่วนใหญ่มีหน้าที่ในด้านศาสนาและพิธีกรรมทั้งสิ้น   วรรณกรรมสำนักอยุธยาที่ไม่เกี่ยวกับศาสนา หรือ พิธีกรรมมักจะเกิดในสมัยกลางอยุธยาลงมา และ ส่วนใหญ่เป็นวรรณกรรมที่เกี่ยวกับการแสดง   ในปลายอยุธยาเมื่อราชสำนักเริ่มรับละครอันเป็นแบบอย่างการแสดงของประชาชนไปใช้บ้าง   ทำให้เกิดวรรณกรรมที่เป็นลายลักษณ์อักษร   ซึ่งไม่เกี่ยวกับพิธีกรรมและศาสนามากขึ้น   ในปลายสมัยอยุธยามีความสนใจของชนชั้นสูงที่มีต่อวรรณกรรมเพื่อการอ่านที่มีนิยายเพิ่มมากขึ้น   อันเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญของความเปลี่ยนแปลงด้านวรรณกรรมของราชสำนัก   ทำให้มีการถ่ายทอดนิทานจากต่างประเทศ   เป็นภาษาไทยกันมาก   วรรณกรรมของประชาชนนั้นมีหน้าที่เด่นชัดอย่างมากในด้านการสร้างความบันเทิง




ความเชื่อมต่อของวรรณกรรมราชสำนักและวรรณกรรมของไพร่
บางส่วนของวัฒนธรรมมูลนายย่อมแพร่กระจายไปยังวัฒนธรรมของไพร่และ ในทางตรงกันข้ามบางส่วนของวัฒนธรรมไพร่ย่อมถูกมูลนายรับเอาไปดัดแปลง   อย่างไรก็ตามในสมัยอยุธยาก่อนหน้าพุทธศตวรรษที่ 23 หลักฐานเกี่ยวกับการแพร่กระจายของวัฒนธรรมทั้งสองแก่กันมักจะพบว่าวัฒนธรรมมูลนายได้แพร่กระจายลงมายังวัฒนธรรมไพร่เป็นอันมาก    การแสดงโขน โมงครุ่ม เล่นดึกดำบรรพ์  และการแสดงหนัง ฯลฯ    ที่จัดขึ้นโดยราชสำนักเปิดโอกาสอย่างดีให้ไพร่ได้รับความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับนิยายและความเชื่อของชนชั้นสูงอันมีมูลฐานมาจากต่างชาติ
นอกจากปฏิสัมพันธ์ซึ่งเกิดขึ้นเป็นธรรมดาแล้ว   ทั้งมูลนายและไพร่ก็ยังเป็นลูกหลานของวัฒนธรรมร่วมกันหลายอย่าง   มีความเชื่อในขั้นพื้นฐานบางอย่างร่วมกัน  เช่น การเชื่อเรื่องผีสาง   ช่องทางสำคัญที่เร่งเร้าการกระจายวัฒนธรรมทั้งสองอย่างได้แก่ วัด  อันเป็นสถานที่ซึ่งเปิดให้แก่ชนชั้นสูงและไพร่ได้สัมพันธ์กันอย่างมาก
วรรณกรรมวัด
วิธีการแปลของปัญญาชนในวัดนั้นนิยมที่จะยกบาลีมาเป็นไว้ในตอนต้นความ   เพื่อให้ง่ายต่อการแปลไปถึงที่ใดแล้ว   สะดวกแก่การตรวจสอบของผู้รู้ด้วยดัน   ส่วนภาษาไทยนิยมใช้คำประพันธ์อย่างหนึ่งซึ่งเรียกกันว่ากลอนวัดซึ่งก็คือร่าย   อาจผสมด้วยกาพย์บ้างแต่น้อย   แม้ในต้นฉบับบาลีตอนที่แปลจะไม่ได้อยู่ในรูปคำประพันธ์ใด ๆ ปัญญาชนชาววัดก็ยังจะแปลบาลีตอนนั้นออกมาในรูปกลอนวัดอยู่นั้นเอง   เป็นตัวอย่างที่ทำให้เห็นบทบาทของวรรณกรรมวัดที่เชื่อมต่อวรรณกรรมมูลนายกับวรรณกรรมไพร่
ภาษาร่ายนั้นเป็นคำประพันธ์ที่คาบเกี่ยวอยู่บนความเรียง   ภาษาร่ายนั้นเป็นภาษาที่เหมาะจะใช้ในสถานการณ์ที่พิเศษกว่าสถานการณ์ที่จะใช้ภาษาความเรียงและภาษาพูด   หนึ่งในสถานการณ์พิเศษนั้นก็คือ เป็นกรณีที่ต้องการจะพูดกับเทพ ผี หรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์   การเลือกสรรคำและการส่งสัมผัสทำให้ร่ายเป็นภาษาที่ศักดิ์สิทธิ์   หลักฐานที่ส่อว่าร่ายเป็นภาษาที่ดำลงสถานะเช่นนี้จะเห็นได้จากบทเซ่นผี   บททำขวัญในงานต่าง ๆ ทั้งการแต่งงาน   ทำขวัญนาค  สู่ขวัญ เรียกขวัญ  ทำขวัญจุก ฯลฯ   ล้วนใช้ภาษาร่ายทั้งสิ้น   บทเหล่านี้ถือกันว่าศักดิ์สิทธิ์   เป็นความรู้พิเศษของหมอทำขวัญ   จึงเปลี่ยนแปลงช้ามากและคงลักษณะสำคัญของบทสวดของเดิมไว้เป็นส่วนใหญ่   ในด้านวรรณกรรมวัดภาษาร่ายถวายเป็นแบบอย่างของการแปลคัมภีร์บาลีเป็นไทย   ภาษาเซ่นผี   กลายเป็นธรรมเนียมที่จะใช้ในการแปลคัมภีร์ศาสนาเกือบทั่วไป   และมักเรียกว่าภาษาร้อยแล้ว   ซึ่งก็เกือบเหมือนภาษาในคำประพันธ์ชนิดที่เรียกว่าร่ายยาวเพียงแต่ไม่เคร่งครัดว่าทุกวรรคจะต้องส่งสัมผัสกันเสมอไป


ในส่วนวรรณกรรมของราชสำนักร่ายถูกนำไปขัดเกลาให้มีข้อบังคับมากขึ้นร่ายก่อให้เกิดร่ายสุภาพ   แต่ก็เช่นเดียวกับในวรรณกรรมของประชาชน   ซึ่งไม่ใช้ร่ายในวรรณกรรมเพื่อความบันเทิง   ร่ายเป็นสมบัติร่วมกันของชนชั้นสูงและไพร่   ร่ายจึงสะท้อนให้เห็นบทบาทของวัดอย่างดี   ในการเชื่อมต่อวรรณกรรมของไพร่และของมูลนาย   ลักษณะที่สำคัญอีกประการหนึ่งของวรรณกรรมวัดก็คือ  เป็นวรรณกรรมที่อาศัยการเขียนเป็นลายลักษณ์อักษร   ในแง่นี้วรรณกรรมวัดจึงค่อนข้างใกล้เคียงกับวรรณกรรมของชนชั้นมูลนาย   แต่ในขณะเดียวกันวรรณกรรมวัดก็มุ่งจะใช้กับไพร่ทั่วไปด้วย   จึงเป็นการง่ายที่จารีตของวรรณกรรมไพร่จะแทรกซึมเข้าไปในวรรณกรรมวัด   บางส่วนของวรรณกรรมวัดจึงพัฒนาไปในทางที่ใกล้เคียงกับวรรณกรรมไพร่   วรรณกรรมที่มีนิยายก็มีอยู่ค่อนข้างมากในวรรณกรรมวัดเพราะชาดกเป็นเนื้อหาสำคัญที่ปัญญาชนในวัดใช้สำหรับสั่งสอน   ความเปลี่ยนแปลงด้านวรรณกรรมที่ปรากฏในต้นรัตนโกสินทร์ ได้แก่   การรับเอาจารีตของวรรณกรรมประชาชนไปใช้ในวรรณกรรมของชนชั้นสูงเพิ่มขึ้น  อีกด้านหนึ่งได้แก่ การลดลักษณะทางพิธีกรรมของวรรณกรรมราชสำนัก
ความเสื่อมของลักษณะพิธีกรรมในวรรณกรรม
ความเคร่งครัดในการเริ่มงานวรรณกรรมด้วยคำประณามพจน์นี้  เสื่อมคลายลงอย่างมากในต้นรัตนโกสินทร์   ในบทละคร 4 เรื่องที่แต่งขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก มีเขียนเรื่องรามเกียรติ์   เพียงเรื่องเดียวที่มีคำประณามพจน์เริ่มต้น   การละเลยนี้อาจจะเริ่มมาตั้งแต่ปลายอยุธยา   คำประณามพจน์ในสมัยอยุธยาจะไม่มีกล่าวถึงประชาชน   แต่ในต้นรัตนโกสินทร์คำประณามพจน์นั้นจะกล่าวถึงประชาชนเสมอ   เนื้อหาอันมีลักษณะเป็นความศักดิ์สิทธิ์หรือพิธีกรรมในวรรณกรรมก็เสื่อมสลายลงอย่างชัดเจนในต้นรัตนโกสินทร์
การับจารีตทางวรรณกรรมของประชาชน
วรรณกรรมราชสำนักรับเอาจารีตของวรรณกรรมประชาชนมาพัฒนารูปลักษณ์แบบใหม่นั้นกลายเป็นพลังผลักดันให้เกิดการเคลื่อนไหวครั้งใหญ่ในทางด้านวรรณกรรมในวรรณกรรมราชสำนัก
กลอนคำประพันธ์ของประชาชน
ต้นเค้าของกลอนนั้นอาจหาได้ในแบบฉันทลักษณ์ที่นิยมใช้ในวรรณกรรมประชาชน   ผังบังคับของคำประพันธ์ที่เรียกว่าเพลงหลายอย่าง เช่น  เพลงเกี่ยวข้าวและเพลงเรื่อ  จะมีสองบาทสุดท้ายเหมือนกลอนทุกอย่าง   เพลงและการให้ทำนองหรือร้องคำประพันธ์เพื่อการฟังและชมนี้เป็นลักษณะเด่นของวรรณกรรมประชาชนอย่างหนึ่ง   กลอนซึ่งมีต้นเค้ามาจากวรรณกรรมประชาชนจึงปรากฏในระยะแรกโดยผูกพันอยู่กับเพลงและการขับร้องเสมอ   กลอนเป็นคำประพันธ์ที่มีความสามารถหลากหลายใช้เพื่อแสดงอารมณ์ที่หลากชนิด

บทอัศจรรย์-จารีตความเปรียบของประชาชน
ความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดขึ้นระหว่างวรรณคดีของชนชั้นสูงกับของประชาชนทำให้มีการถ่ายเทความเปรียบอันเป็นภาษิตของประชาชนไปใช้ในวรรณกรรมราชสำนักอีกด้วย   ปรากฏการณ์เช่นนี้ไม่ค่อยได้พบในวรรณกรรมราชสำนักของอยุธยา   การรับเอาภาษิตและความเปรียบของประชาชนเป็นสมบัติของตนเอง   พฤติกรรมทางกามารมณ์ในวรรณกรรมไทย   ซึ่งนิยมเรียกกันว่า บทอัศจรรย์อันเป็นความเปรียบอย่างหนึ่ง   พฤติกรรมทางกามารมณ์เป็นส่วนที่ค่อนข้างสำคัญในวรรณกรรมประชาชน  เช่น เพลงเรือ เพลงเกี่ยวข้าว ฯลฯ   ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น   การเขียนบทอัศจรรย์หันไปรับจารีตของประชาชนมากขึ้นกล่าวคือ ละทิ้งการบรรยายอย่างตรงไปตรงมาของวรรณกรรมราชสำนักอยุธยา   ความเปรียบที่วรรณกรรมราชสำนักรับไปนั้น   ส่วนใหญ่จะใช้ซ้ำกันจนเกิดเป็นจารีตชนิดที่ผู้อ่านจะเข้าใจได้ทันที   ความเปรียบที่ใช้มากที่สุดได้แก่  ฝนตกคู่กับดอกไม้บาน   และ   ผึ้งคู่กับดอกไม้   การใช้ซ้ำซากและจำเจเช่นนี้ให้ประโยชน์ที่ทำให้เกิดสัญลักษณ์ที่เข้าใจได้ง่ายแก่ผู้อ่าน
ละคร-จากประชาชนสู่ราชสำนัก
การแสดงระบำเป็นสมบัติที่ถือร่วมกันของประชาชนและราชสำนัก   โขนไม่ค่อยได้รับความนิยมจากประชาชนเพราะเป็นบทละครที่ตายตัว   แสดงอยู่เรื่องเดียวและไม่ให้ความบันเทิงเหมือนวรรณกรรมชาวบ้าน   ระบำถูกพัฒนาและการแสดงที่มีนิยายก็ถูกพัฒนาขึ้นอย่างมาก   นับตั้งแต่ปลายอยุธยาเป็นต้นมาโดยเฉพาะละครที่เกิดมาจากวัฒนธรรมของประชาชนนิยมในวรรณกรรมเพื่อความบันเทิง   ลาลูแบร์ทำให้เห็นว่าละครของประชาชนนั้นเกิดขึ้นตั้งแต่สมัยพระนารายณ์แล้ว   แต่เมื่อดูหลักฐานอื่นกลับไม่พบว่ากล่าวถึงละครเลยก็พอจะเข้าใจได้ว่าละครในสมัยสมเด็จพระนารายณ์นั้นเพิ่งมีการเล่นละคร   แต่ยังไม่แพร่หลาย
ลักษณะสำคัญของละครนอกอีกอย่างคือ  การต้องด้นและเสภาเอง   บทละครตายตัวมาเกิดขึ้นเมื่อราชสำนักซึ้งคุ้นเคยกับการแต่งวรรณกรรมด้วยการเขียนอยู่แล้ว   ให้รับละครไปจากประชาชนในปลายอยุธยา   ความสนใจต่อวรรณกรรมที่มีนิยายของราชสำนักในปลายอยุธยาเองก็คงมรส่วนที่ทำให้การแสดงของประชาชนที่เรียกว่าละคร   เป็นที่นิยมในแวดวงของราชสำนัก   ความคุ้นเคยกับละครเช่นนี้ทำให้ราชสำนักเริ่มปรับปรุงการแสดงของประชาชน   เพิ่มจารีตทางวรรณกรรมของตนเข้าไปและใช้ผู้หญิงแสดงและเขียนบทละครให้ตายตัว   ส่วนละครของประชาชนที่ไม่ใช้ผู้หญิงแลดงนั้นเพราะเนื้อเรื่องส่วนใหญ่เป็นการด่าทอจึงไม่เหมาะให้ผู้หญิงเล่น  
วรรคแรกที่ขึ้นต้นของละคร เช่น เมื่อนั้น  บัดนั้น เป็นเพราะว่าดัดแปลงมาจากเพลงของประชาชนซึ่งต้องทำให้วรรคแรกสั้นที่สุด   จนกลายเป็นรูปแบบอย่างหนึ่งของละครและยังมีประเพณีของบทละครอีกอย่างคือ ฉากอาบน้ำแต่งตัวก่อนเดินทาง  ซึ่งสมัยก่อนไม่เป็นที่นิยม

รัชกาลที่ 1 แค่เก็บรวบรวมเรื่องราวของตัวบทให้มากที่สุด  ไม่ได้มุ่งจะให้อ่านเอาเรื่องราวเพื่อความบันเทิง   แต่มุ่งจะให้ความบันเทิงใจในเรื่องวรรณศิลป์มากกว่า   รัชกาลที่ 2 มุ่งเน้นเรื่องการแสดงเพื่อความบันเทิง   ซึ่งแตกต่างเรื่องของ ร.1 มาก เพราะ ร.2 ใช้เพื่อแสดงละครได้จริง ๆ การจัดท่ารำต่าง ๆ ทั้งหมดนี้เป็นผลให้ละครราชสำนักมีแบบแผนที่เป็นของตนเองอย่างชัดเจน และมีความแตกต่างจากละครของประชาชนอย่างชัดเจน   และมีการเปิดรับจารีตทางวรรณกรรมของประชาชนอย่างมากในสมัยรัตนโกสินทร์นี้เอง
การรับเอาวรรณกรรมประชาชนนี้ไม่ได้จำกัดอยู่เพียงราชสำนักแต่งยังแพร่กระจายไปในชนชั้นสูงทำให้ในช่วงต้นรัตนโกสินทร์อีกด้วย   ยิ่งในรัชกาลที่ 3 เมื่อกษัตริย์ไม่ทรงพระราชประสงค์ที่จะเก็บละครหลวงไว้   ทำให้ละครในกลับไปงอกงามตามบ้านขุนนางและวังเจ้านาย   นอกจากแวดวงของชนชั้นสูง   วรรณกรรมที่เป็นบทละครมีผู้แต่งเพิ่มขึ้นอีกมากทั้งที่แต่งขึ้นเป็นลายลักษณ์อักษร   รูปแบบที่ใช้ในการเล่านิยาย เพราะในเวลาต่อมาก็ปรากฏว่ามีผู้เอารูปแบบบทละครนี้เพื่อเขียนนิยาย แม้ไม่ตั้งใจจะไว้ให้เล่นละครก็ตาม
วรรณกรรมเพื่อการอ่าน
อยุธยาผลิตวรรณกรรมเพื่อการอ่านไม่สู้จะมากนัก ส่วนหนึ่งของวรรณกรรมอยุธยานั้นผลิตขึ้นเพื่อใช้ในพิธีกรรม   อีกส่วนหนึ่งเป็นวรรณกรรมเพื่อการแสดง อีกส่วนเป็นวรรณกรรมทางศาสนามีจุดมุ่งหมายเพื่อสั่งสอนหรือใช้สวด   วรรณกรรมเพื่อการอ่านจึงมีอยู่น้อยมาก แตกต่างกับช่วงต้นรัตนโกสินทร์ ได้ผลิตวรรณกรรมที่มีลักษณะเพื่อการอ่าน  จะเห็นได้ว่า  วรรณกรรมต้นรัตนโกสินทร์เป็นวรรณกรรมที่ง่ายต่อการอ่านของคนทั่วไป   ที่มีความรู้ทางหนังสือไม่มาก   มีความง่ายทั้งศัพท์ที่ใช้และรูปแบบคำประพันธ์ซึ่งถูกกลอนครอบงำเสียส่วนใหญ่   ความเปลี่ยนแปลงในด้านนี้เองวรรณกรรมสะท้อนให้เห็นแม้แต่ในงานเขียนขึ้นในยุคนี้เอง  การอ้างถึงการอ่านเพื่อความบันเทิงนั้นเป็นสิ่งที่หาไม่ได้ในวรรณกรรมอยุธยา
เจ้าพระยาพระคลัง (หน) ซึ่งเป็นกวีที่กล้าเสี่ยงทดลงริเริ่มสิ่งใหม่ ๆ อยู่เสมอสะท้อนความสำนึก เช่นในเรื่อง ลิลิตรศรวิปับชาดก   เป็นวรรณกรรมเพื่อการอ่านโดยแท้แต่ในขณะเดียวกันก็รักษาจารีตของกลอนเทศน์ไว้ด้วย แต่ไม่เป็นที่นิยม แต่วรรณกรรมเรื่องนี้สะท้อนสำนึกของกวีต่อความเปลี่ยนแปลงหน้าที่ของวรรณกรรมในต้นรัตนโกสินทร์ได้ดี   วรรณกรรมการอ่านเพื่อความบันเทิงชนิดใหม่อีกอย่างหนึ่ง คือ การเขียนนิทานกลอน
วรรณกรรมเพื่อการอ่านขยายตัวขึ้นในด้านปริมาณพร้อมกันไปกับความสนใจวรรณกรรมที่มีนิยายในขณะเดียวกันคำประพันธ์ประเภทกลอนมีการใช้มากขึ้น เพราะ เหมาะสมกับความสนใจที่จะอ่านวรรณกรรมสนุกกับนิยาย   ในวรรณกรรมความศักดิ์สิทธิ์และพิธีกรรมที่เป็นหน้าที่สำคัญของวรรณกรรมหมดความนิยมลงไปมาก เพราะวรรณกรรมนั้นทำหน้าที่สร้างความบันเทิงใจในรูปแบบอื่นเสียมากกว่า และไม่จำกัดอยู่เพียงแต่ในราชสำนักล้วน ๆ อย่างที่เคยเป็นในสมัยอยุธยา


สรุป

จะเห็นได้ว่าไม่ว่าจะงานวรรณกรรมของประชาชนหรือของราชสำนัก  ทั้งสองอย่างนี้มีการรับอิทธิพลของกันและกันเพื่อนนำมาสร้างสรรค์งานวรรณกรรม  ได้เห็นความเปลี่ยนแปลงของราชสำนักที่แต่ก่อนปิดกั้นงานของประชาชนนั้น  เมื่อสมัยเปลี่ยนไปทำให้ราชสำนักนั้น  รับอิทธิพลงานวรรณกรรมของประชาชนมากขึ้น  ซึ่งราชสำนักในสมัยอยุธยามีแต่เรื่องศาสนาไม่มีความบันเทิงเหมือนสมัยต้นรัตนโกสินทร์ที่เน้นความส่วนบันเทิงซะส่วนใหญ่  เพราะได้เปิดกว้างรับอิทธิพลของประชาชนมากขึ้น