วันอังคารที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

แนวคิดของ มิแช็ล ฟูโกต์

แนวคิดของ   มิแช็ล   ฟูโกต์
สรุป เรื่องวรรณกรรม
          ฟูโกต์จะออกจากอัตลักษณ์ที่ตายตัวเพื่อเป็นอื่นไปเรื่อยๆ ถ้าเราคิดว่านักเขียนคือผู้ที่เขียนตัวบท ก็เท่ากับว่าทุกอย่างที่เราเขียนเป็นตัวบททั้งหมดแต่ไม่ได้หมายความว่าทุกคนจะเป็นนักเขียน ตัวบทต้องไม่ใช่ทุกอย่างที่เขียน   มีแค่ตัวบทบางประเภทเท่านั้นที่เรามองว่าเป็นผลงาน   นักเขียนถูกกำหนดขึ้นโดยสังคมเป็นตัวบอกให้เป็น   เช่น  ดาราภาพยนตร์เขียนอัตชีวประวัติโดยความช่วยเหลือ หรือ บอกเล่ากับใครบางคนไม่ได้ลงมือเขียนเอง   ดาราเป็นนักเขียนไม่ได้แค่การเป็นที่มาหรือผู้ผลิตในตัวบทบางประเภทแต่เป็นการรับผิดชอบงานเขียนขึ้นนั้น   บทบาทของนักเขียนแสดงบทบาทที่สัมพันธุ์กับความนิยามทางสังคมและวัฒนธรรม ฟูโกต์สนใจประเด็นเรื่องบทบาทของนักเขียนที่ไม่ประสงค์จองจำอัตลักษณ์เพียงอัตลักษณ์เดียว
          ฟูโกต์กล่าวไว้ว่า  บทบาทของนักเขียนในตัวบท ที่มีนักเขียน ผู้เขียนต้องใช้หลายตัวตนเพื่อทำหน้าที่นักเขียน ” (หน้า31)
          ภาษาที่ใช้ในการเขียนไม่ได้เป็นตัวของนักเขียนจริง ๆ แต่เป็นสิ่งที่สร้างขึ้นมา   ตัวบทจะมีคนพูดที่หลากหลาย  แต่ต้องแยกให้ออกว่าใครเป็นคนกล่าวไว้    สังคมเป็นตัวกำหนดภาษา และ ภาษาเป็นตัวกำหนดคำพูด   ภาษาต้องอยู่ในยุคนั้นถึงจะเข้าใจภาษานั้นได้   สังคมจึงเป็นการกำหนดภาษาในการเขียนของสิ่งต่าง ๆ  ตัวบทเป็นสิ่งที่ภาษาเป็นคนพูด   ความคิดของฟูโกต์งานเขียนไม่ได้เป็นการเขียนเพื่อแสดงตัวตน เพื่อบอกถึงอัตลักษณ์ของตัวเองในงานเขียน  แต่งานเขียนเป็นการเขียนเพื่อสลายตัวตนโดยใช้ภาษาเป็นตัวกระทำ
          กติกาของภาษาคือ เราสามารถพูดคำต้องห้ามได้ออกมาได้มากน้อยแค่ไหน   งานเขียนที่ก้าวล่วงล้ำกรอบของพันธนาการของภาษาให้พ้นจากสิ่งที่รู้และความสามารถที่แสดงออกก็คือ การใช้ภาษาที่ไปไกลมากที่สุดจากกรอบที่สังคมวางไว้   เป็นเส้นทางใหม่ของภาษาที่ออกนอกกรอบของภาษาให้ไร้ข้อกำหนดของภาษา  ไร้ทิศทางและปกปิดตัวของมันเอง   เราไม่สามารถพูดคำต้องห้ามได้   แต่เราสามารถเขียนคำต้องห้ามได้







สรุป วงศาวิทยา
          การจำแนกทางโบราณคดีวิทยา 4 แบบนำไปใช้กับภาษาและเป้าหมายคืออำนาจทางกายภาพ   วินัยและการลงทัณฑ์ไม่ได้สนใจแค่ภาษาแต่เป็นอำนาจในการเปลี่ยนแปลงโลก   โบราณคดีวิทยาเป็นการวิเคราะห์แบบโครงสร้าง   วินัยและการลงทัณฑ์เป็นเรื่องที่จะเข้ามาเสริมโบราณคดีวิทยานี้คือสิ่งที่เรียกว่าวงศาวิทยาเหมือนที่ฟูโกต์ในบทวินัยและการลงทัณฑ์ว่า
          หนังสือเล่มนี้เขียนขึ้น...ในฐานะวงศาวิทยาของสถาบันทางกฎหมาย-วิยาศาสตร์สมัยใหม่
          วงศาวิทยาคือ วัตถุของการศึกษาของประวัติศาสตร์   คือต้นกำเนิดของกฎ การปฏิบัติ หรือ สถานที่   ชองอำนาจอยู่ในปัจจุบันและอ้างว่ามีอำนาจเหนือเรา   ความหมายของเจตนาหลักของวงศาวิทยาไม่ใช่การเข้าใจอดีตแต่เป็นการศึกษาอดีตเพื่อให้เข้าใจปัจจุบันและนำมาประเมินค่าในปัจจุบัน   โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อทำลายความชอบธรรมของอำนาจที่ไม่อาจอธิบายได้ด้วยตัวมันเองได้
          อำนาจแบบใหม่ที่ฟูโกต์คิดคือการจ้องมองทางสังคม   เกิดขึ้นจากสังคมเป็นตัวกำหนดพฤติกรรมของปัจเจกบุคคลใช้วิธีศึกษาโดยโบราณคดีวิทยา   อำนาจเป็นตัวการของกรอบความคิดทั้งหมดหลายอย่างที่เราเชื่อ   เป็นเพราะสังคมเป็นตัวกำหนด   เป็นตัวบังคับที่แต่ละคนตระหนักได้จากการรับรู้ของเรา การรับรู้ของเรานั้นเป็นผลของอำนาจ   อำนาจไม่ใช่แค่ควบคุมหรือล้มล้างความรู้แต่ยังช่วยให้สร้างความรู้แบบใหม่ขึ้น  และความรู้นั้นเป็นสองสิ่งที่ไปด้วยกันได้ เราไม่สามารถรู้ได้ว่าเรากำลังถูกอำนาจในการบงการเราอยู่แต่เรารู้แค่ว่าเราต้องทำแบบไหนให้เดินไปทางโครงสร้างทางสังคมที่ถูกวางไว้  










สรุป อาชญากรรมและการลงทัณฑ์
          แนวคิดใหม่คือการคุมขังแทนการลงทัณฑ์ทรมานไม่ใช่เพื่อลงโทษให้น้อยลง  แต่เพื่อลงโทษให้ได้ดีขึ้น   ตัวอาชญากรถูกลงโทษมากกว่าการมองสภาพแวดล้อมของตัวปัจจัยที่ทำให้ก่อให้เกิดอาชญากรรม   ผู้ที่ตัดสินลงโทษไม่ใช่ผู้พิพากษาแต่เป็นผู้ที่ตัดสินในว่าตีความคำพิพากษาให้มีผลเชิงปฎิบัติอย่างไร   จุดมุ่งหมายในการลงโทษสาสมกับผลที่ทำแต่ทำเพื่อปฎิรูปและฟื้นฟูความเป็นพลเมืองดีของอาชญากร คือการทำให้อาชญากรมีจิตสำนึกและไม่ทำความผิดซ้ำอีก
          การลงทัณฑ์ต่อร่างกายเปลี่ยนไปความควบคุมทางจิตใจแทนการลงโทษแบบสมัยเก่าที่จู่โจมร่างกายอย่างรุนแรงเพื่อเป็นการชดใช้ด้วยความเจ็บปวดให้สาสมก็พอใจแล้ว แต่การสงทัณฑ์สมัยใหม่คือการเปลี่ยนแปลงทางจิตใจเพื่อให้เดินทางสู่สายใหม่   จิตวิญญาณของยุคสมัยใหม่คือการควบคุมจิตใจ   โดยการเปลี่ยนทัศนะแนวโน้มทางพฤติกรรมทางจิตวิทยาเพื่อควบคุมร่างกาย เหมือนที่ฟูโกต์กล่าวไว้ว่า วิญญาณคือคุกที่คุมขังร่างกาย” (134)
          วินัยและการลงทัณฑ์เป็นการสร้างวินัยที่ใช่อาชญากรกลายเป็นตัวแบบของพื้นที่ ที่ควบคุมอื่น ๆ แนวสมัยใหม่  คือสร้างร่างกายให้เชื่อง คือร่างการี่ไม่เพียงทำสิ่งที่เราต้องการแต่ยังทำด้วยวิธีการที่เราต้องการให้ทำด้วย  ร่างกายที่เชื่องสร้างได้ 3 แบบ หนึ่งการสังเกตอย่างมีชั้นเชิง การจับตามองอยู่ตลอดเวลา คือ สร้างสถาปัตยกรรมที่คนมองเห็นอยู่ตลอดเวลา  เป็นสถาปัตยกรรมรูปแบบอำนาจในอุดมคติสมัยใหม่ คือ แพนออปติคอนซึ่งควบคุมนักโทษได้มากที่สุดโดยการใช้คนคุมน้อยที่สุด   นักโทษชังเดี่ยวที่ออกแบบห้องขังด้วยกระจกไม่มีการรู้ตัวว่าคนคุมจะมองมาเมื่อไหร่  แต่นักโทษจะคิดอยู่ตลอดเวลาว่าตนถูกจับตาดูอยู่ตลอดเวลา   ทำให้ผู้ต้องขังมีภาวะจิตสำนึกเวลาจะทำอำนาจด้วยตัวมันเองโดยอัตโนมันติ
          วินัยในยุคสมัยใหม่ประการที่สอง คือ การให้ความสำคัญกับการตัดสินใจตามเกณฑ์มาตรฐาน   เป็นการกระทำตามลำดับเพื่อเปรียบเทียบกับคนอื่น   มักจัดลำดับอยู่ตลอดเวลา และ เกณฑ์การเปรียบเทียบการจัดลำดับจึงมีเกณฑ์ว่าพฤติกรรมประเภทไหนที่ปกติ   ทำให้พฤติกรรมต่าง ๆ อยู่ในที่สังคมยอมรับได้   ความกลัวว่าตนจะผิดปกติเป็นการกำหนดให้เราเดินทุกฝีก้าวอยู่ในกรอบของสังคม
          ประการสุดท้าย คือ การสอบ  เป็นการกำหนดเกณฑ์มาตรฐานนั้น คืออำนาจการสถาปนาที่ทำให้พวกที่ถูกสอบอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน   การถูกสอบจะบันทึกผลไว้ในเอกสารข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับผู้เข้าสอบ  และทำให้อำนาจเข้าควบคุม   บันทึกพวกนี้ทำให้ผู้มีอำนาจสามารถจำแนกปัจเจกบุคคลเป็นประเภทค่าเฉลี่ย   ยุคใหม่มีอำนาจเป็นสิ่งที่มองไม่เห็น แต่อำนาจเราสัมผัสได้ว่ามี จึงไม่กล้าทำความผิด
          ฟูโกต์พยายามทำให้กลุ่มของพวกชายขอบที่คนมองว่าเป็นพวกเดียวกับคนบ้าที่คนในสังคมมองว่าไม่ปกตินั้น ให้มีสิทธิ์มีเสียงมากขึ้น  ฟูโกต์พยายามเข้าร่วมการเมืองเพื่อทำให้กลุ่มของชายขอบมีสิทธิเท่าเทียมกับคนในสังคมที่ถูกปิดกั้น ฟูโกต์ทำให้คนพวกนี้ได้พูดและฟังในสิ่งที่สมควรจะได้รับรู้

สรุปรวม
สังคมเป็นตัวกำหนดการกระทำต่าง ๆ ของมนุษย์   อำนาจใหม่ที่ มิแช็ล  ฟูโกต์   เสนอคือ  อำนาจการจ้องมอง อำนาจที่ทุกคนมองไม่เห็น เป็นอำนาจที่อยู่ในที่แจ้ง ผู้ที่ถูกมองเห็นได้มากที่สุดนั้นคือบุคคล  อำนาจที่ทำให้ทุกคนอยู่ในกรอบโดยการใช้จิตใต้สำนึกของคนเป็นตัวกำหนดถูกปลูกฝังโดยสังคมเป็นตัวกำหนด การสร้างสถาปัตยกรรมแบบเปิดเผยที่ทำให้คนอื่นมองเห็นอยู่ตลอดเวลา   เช่น สถานที่ทำงานที่เปิดเป็นแบบกระจกเปิดเผย   ทำให้คนมองเห็นอยู่ตลอดเวลา    คนก็จะทำตัวแบบที่สังคมกำหนดพฤติกรรมคือ ทำตัวไม่แปลกแยกไปจากคนอื่น ๆ เดินตามกรอบตามสิ่งที่ถูกปลูกฝังมาให้ทำตามในแบบที่สังคมส่วนใหญ่ที่กำหนดไว้
งานในประวัติศาสตร์เรื่องคุก  วินัยและการลงทัณฑ์เป็นผลงานที่เกี่ยวข้องกับวงศาวิทยามากกว่าโบราณคดี คือ  เอาวงศาวิทยาวางไว้บนโบราณคดีของความคิดเกี่ยวกับคุก จุดยืนของวงศาวิทยาก็คือ ประวัติศาสตร์ของปัจจุบัน ความหมายของวงศาวิทยา  ความหมายแรก วัตถุของการศึกษาของประวัติศาสตร์  คือต้นกำเนิดของกฎ  การปฏิบัติ   หรือ สถาบันที่ดำรงอยู่ในปัจจุบันและอ้างว่ามีอำนาจเหนือเรา   ความหมายที่สองเจตนาหลักของวงศาวิทยามิใช่การเข้าใจอดีต หรือ ศึกษาเพื่ออดีต  แต่เป็นเพื่อเข้าใจปัจจุบัน   โดยเฉพาะเพื่อทำลายความชอบธรรมของอำนาจที่ไม่อาจอธิบายตัวเองได้   โบราณคดีวิทยาจะเป็นเครื่องมือที่มีพลังในการบรรยายระบบความคิดที่อยู่เบื้องหลังการกระทำ   ไม่ว่าจะเป็นภาษาหรือไม่ใช่ภาษาแต่ก็ไม่ใช่เครื่องมือที่ดีในการผลของการกระทำ   เพราะโบราณคดีวิยาวิเคราะห์โครงสร้างไม่ใช่วิเคราะห์ต้นเหตุและผล วงศาวิทยาที่ฟูโกต์เสนอที่ว่าความรู้มีสัมพันธภาพที่ลึกซึ้งกับอำนาจ   ข้อเสนอนี้ทำให้มองเห็นว่าการเปลี่ยนแปลงของความคิดไม่ได้เกิดจากความคิดของมันเอง   แต่เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงความคิด ต้นเหตุของความเปลี่ยนแปลงคือพลังทางสังคมทั้งหลายที่ควบคุมพฤติกรรมปัจเจกบุคคล   การศึกษาความรู้ด้วยวิธีโบราณคดีทำให้เห็นอำนาจเป็นตัวการที่ทำให้มีกรอบความคิดพื้นฐานซึ่งนั้นก็คือ รูปแบบวาทกรรมที่เป็นพื้นฐานของความรู้ของเราเปลี่ยน   ฟูโกต์ยังเสนอว่าอำนาจมีบทบาทในแง่กรอบกรอบกำกับความคิดเชิงบวก   คือ  อำนาจไม่ใช่แค่ควบคุมหรือล้มล้างความรู้แต่ยังสร้างความรู้ด้วย
วินัยและการลงทัณฑ์ทำให้เห็นได้ว่า  เทคนิคของการลงทัณฑ์สมัยใหม่   คือ  การคุมขังแทนการลงทัณฑ์โดยทำทางร่างกายแบบวิธีเก่า  โดยใช้การจำแนก 4 แบบการคุมขังเป็นการจัดวางผู้กระทำผิดในฐานะของประเภทใหม่   ที่ใช้มโนทัศน์ที่ว่าด้วยลักษณะของอาชญากรการใช้อำนาจแบบต่าง ๆ และปฏิบัติเชิงยุทธวิธี โดยการขังเดี่ยวและการทำงานเพื่อเปลี่ยนพฤติกรรมของนักโทษ   เปลี่ยนแปลกนักโทษโดยทางจิตใจ   ให้เดินในทางที่อยากให้เป็นไป   การลงทัณฑ์แบบสมัยเก่า คือ การลงโทษโดยการทำให้ร่างกายเจ็บปวดให้สาสมกับสิ่งที่ทำ   แต่การลงโทษสมัยใหม่ซึ่งมีผลมากกว่าการลงโทษสมัยเก่า คือ การควบคุมทางจิตใจแทนเปลี่ยนแปลงทัศนะและแนวโน้มของพฤติกรรม  เพื่อให้ควบคุมร่างทางจิตวิญญาณ  จิตวิญญาณก็เหมือนคุกที่คุมขังในร่างการ  สังคมสมัยใหม่จึงเป็นการเลี้ยงคนให้เชื่อง   เพื่ออยู่ในกรอบที่วางไว้
          ร่างกายที่ถูกทำให้เชื่องสร้างได้ด้วยสามหนทาง คือ หนึ่งการสังเกตอย่างมีช่วงชั้น คือ การที่เราสามารถควบคุมตัวคนอื่นได้จากการจับตาดูคนนั้นอยู่ตลอดเวลาเมื่อรู้สึกว่าโดนจ้องมองอยู่ตลอดเวลา ก็จะทำให้คนที่คิดจะทำผิดนั้นเปลี่ยนพฤติกรรมไป   สอง คือ การให้ความสำคัญกับการตัดสินตามเกณฑ์มาตรฐาน ทำให้เกิดการเปรียบเทียบทางสังคม มีการจัดลำดับของสิ่งต่าง ๆ  ทุกคนต่างอยากไปให้ถึงในมาตรฐานที่วางไว้อย่างไม่มีที่สิ้นสุด  ทำให้เราสามารถนิยามความไม่ปกติเกิดขึ้นในการเปรียบเทียบพฤติกรรมให้ทำตามที่สังคมยอมรับได้ และ สาม คือ  การสอบเป็นการควบคุมพฤติกรรมต่างๆ ให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานที่ถูกกำหนดขึ้น
เราจึงรู้ได้ว่า ความปกติ และ ไม่ปกติ  ก็เกิดจากการเปรียบเทียบทางสังคมที่เดินตามสายหลักที่ปฏิบัติร่วมกัน  แต่ถ้าใครปฏิบัติต่างออกไปจะถูกสังคมเป็นตัวลงทัณฑ์โดยการถูกมองว่าแปลกแยก   ฟูโกต์พยายามศึกษาจากฝ่ายที่ถูกสังคมมองว่าไม่ปกติ   เพื่อให้มีสิทธิ์มีเสียงในอำนาจที่มีอยู่ในสังคม  ฟูโกต์จึงได้ศึกษาพวกชายขอบที่ถูกสังคมมองว่าต่ำกว่าคนปกติ  พวกชายของต้องการที่จะเปลี่ยนแปลงค่านิยมของสังคม  เพื่อที่จะสร้างโลกในอุดมคติขึ้นมาใหม่ ให้กลุ่มชายขอบมีสิทธิมีเสียงมากขึ้น โดยเปิดโอกาสให้คนชายขอบได้พูดได้และได้รับการรับฟัง   การเมืองของฟูโกต์พยายามเปิดพื้นที่ให้กับความผิดพลาด  ปฏิสัมพันธ์ที่สร้างสรรค์กับความเป็นจริงทั้งหลายของสังคมทำให้ชายขอบสามารถเข้าไปอยู่ในสังคมกระแสหลักได้   
สังคมเป็นตัวกำหนดภาษา และ ภาษาเป็นตัวกำหนดคำพูด   เราสามารถเขียนบางคำได้ แต่เราไม่สามารถพูดได้ทุกคำที่เราเขียน   จึงมีคำต้องห้ามอยู่   เราสามารถใช้ภาษาต้องห้ามนี้ได้มากน้อยแค่ไหนในการที่จะแสดงออกมาชองภาษา  
          การเขียนจึงไม่ได้เป็นตัวกำหนดอัตลักษณ์ แต่การเขียนเป็นการสลายอัตลักษณ์ ทำไม่ให้คนอื่นจับทางได้ว่างานเขียนแสดงตัวตนแบบไหนของผู้เขียนออกมา   ทำให้ตัวเองหายไปโดยการใช้ภาษา  งานเขียนไม่สามารถเป็นกุญแจของวรรณกรรมมีไว้เพื่อเปิดหรือปิดความหมายที่อยู่ในงาน   การศึกษาวรรณกรรมของฟูโกต์ความสนใจเรื่องพื้นที่และภาษาสะท้อนวิถีการคิดที่ต้องถอดอัตภาวะออกจากความเป็นศูนย์กลาง และหันมาให้ความสำคัญกับระบบในเชิงโครงสร้าง   การเป็นนักเขียนไม่ใช่แค่การมีความสัมพันธ์กับตัวบทบาตรตามสังคมและวัฒนธรรม  ผู้เขียนต้องมีหลากหลายตัวตนเพื่อทำหน้าที่นักเขียน  โครงสร้างภาษาเป็นตัวกำหนดคำพูดภาษาทำให้เราไปไกลกว่าอัตลักษณ์  โดยใช้ภาษาเป็นตัวทำงานเขียนให้ก้าวล้ำกรอบไปไกลแค่ไหนของภาษาที่พันธนาการของภาษาให้พ้นจากสิ่งที่รู้ และ ความสามารถที่จะแสดงออกก็คือ  การใช้ภาษาให้ไปไกลได้มากที่สุดจากกรอบสังคมที่วางไว้   เราไม่สามารถพูดคำต้องห้ามได้  แต่เราสามารถเขียนคำต้องห้ามได้  ประสบการณ์ของการไปถึงขีดจำกัดและวรรณกรรมที่ก่อให้เกิดประสบการณ์นั้น คือกุญแจในการเปลี่ยนแปลงสังคม

          สังคมเป็นตัวกำหนดทุกอย่างในการกระทำทั้งความคิด   แนวทางการใช้ชีวิต   สังคมเป็นตัวกำหนดด้วยอำนาจสมัยใหม่ที่ทำโดยการจ้องมอง   ปลูกทัศนคติตามกรอบที่สังคมต้องการให้เป็น