วันศุกร์ที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2561

ตีความ ชื่อบทกวี “แกว่งสารส้ม” ในรวมบทกวี “มือนั้นสีขาว” โดย ศักดิ์สิริ มีสมสืบ


ชื่อบทกวี “แกว่งสารส้ม” ในรวมบทกวี “มือนั้นสีขาว” โดย ศักดิ์สิริ มีสมสืบ

ตีความ
      
          บทนี้เกี่ยวกับการใช้สารส้มแกว่งน้ำที่ขุ่นนั้นให้ใสสะอาด   ก็อย่างที่ทราบกันดีว่าสมัยก่อนนั้น  เราก็ใช้สารส้มในการแกว่งใส่น้ำในโอ่ง หรือภาชนะอะไรก็ได้ที่เราเอาไว้รองน้ำไว้ใช้   เพราะในสมัยก่อนนั้นเราไม่มีเครื่องกรองน้ำหรือน้ำเปล่าไว้ขายเหมือนในสมัยนี้  เราจึงได้นำสารส้มมาใช้เพื่อให้น้ำใสและสามารถเอาไปกินไปใช้ได้

 แต่ว่าการเราใช้สารส้มมันก็ไม่ได้หมายความว่าน้ำนั้นจะสะอาดจริง ๆ เพียงแต่สิ่งสกปรกที่อยู่ในน้ำนั้นได้ลงไปนอนอยู่ใต้ล่างแทน  เราจึงต้องพยายามตักเบา ๆ เพื่อไม่ให้ตะกอนลอยตัวขึ้นมาทำให้น้ำขุ่นอีก   ถ้าเปรียบกับสำนวนไทย ก็คงมาจากคำว่า  น้ำขุ่นไว้ใน น้ำใสไว้นอก   ซึ่งก็หมายความว่า เราควรจะเก็บความไม่พอใจเอาไว้ข้างใน  และใช้ความดีแสดงออกมาให้คนภายนอกได้เห็นมากกว่า  ถ้าเกิดเราทำให้ตะกอนที่ขุ่นอยู่ภายใจจิตใจแสดงออกมาปะปนกับน้ำใส มันก็จะทำความขุ่นมัวกระจายไปในน้ำใสกลายเป็นน้ำสกปรกไปทั่วทั้งหมด

ถ้าจะให้เปรียบกับคนในสังคม อาจจะยกตัวอย่างได้ว่าจิตใจคนนั้นก็เหมือนน้ำที่อยู่ในโอ่ง   เมื่อเวลาเราโกรธแล้วเราแสดงออกให้คนภายนอกเห็น เราก็เหมือนไปทำให้ตะกอนที่อยู่ในจิตใจนั้นได้ออกมาปะปนกับสิ่งดี ๆ ที่เราเคยสร้างขึ้น  แต่เมื่อตะกอนได้ปะปนเข้าเป็นเนื้อเดียวกับน้ำแล้ว มันก็ทำให้คนอื่นมองเราไปได้แต่ในทางที่ไม่ดี    แต่ถ้าเกิดว่าเราโมโหแต่เราพยายามที่จะไม่ทำให้ตะกอนมาปะปนกับสิ่งภายนอกที่เราสร้างขึ้น ถึงแม้ว่าภายใจเราจะขุ่นมัวแค่ไหนก็ตาม  แต่เราเลือกที่จะนิ่ง คนที่มองเราจากภายนอกก็จะมองเราในแง่ดีมากกว่าในแง่ลบ